วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

บ้านโพนเพ็ก

ประวัติและบริบทหมู่บ้านโพนเพ็ก 
หมู่ที่  9  ตำบลโพนยาง  อำเภอวังหิน  จังหวัดศรีสะเกษ 

            บ้านโพนเพ็กเริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่  พ.ศ.  2480  โดยได้ย้ายถิ่นฐานมาจากบ้านหนองแคน  โดยในขณะนั้นมีประชากรย้ายมาตั้งบ้านเรือนอยู่ประมาณ  5 หลังคาเรือน  สาเหตุที่ย้ายมาจากบ้านหนองแคนคือในขณะนั้นมีโรคระบาดเกิดขึ้นในชุมชน  จึงทำให้พ่อใหญ่พูล  สมบัน ชวนเพื่อนๆและญาติๆที่อยู่ใกล้เคียงย้ายบ้านเรือนมาตั้งที่โนนเพ็ก  สาเหตุที่เรียกว่า  “บ้านโพนเพ็ก”  เพราะคำว่า “โพน”เป็นภาษาถิ่นพื้นบ้านอิสานจะมีลักษณะเป็นเนินสูงน้ำท่วมไม่ถึง   และคำว่า “เพ็ก” ก็คือต้นไม้ชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายกับต้นไผ่แต่เป็นต้นไผ่ป่า  ชาวบ้านในแถบนั้นเรียกว่า  “ต้นเพ็ก  ดังนั้นคำว่า  “โพนเพ็ก” จึงมาจากการตั้งบ้านเรือนในเนินที่มีต้นเพ็กใหญ่ 
              บ้านโพนเพ็ก แต่ก่อนขึ้นตรงกับตำบล  บุสูง  กิ่งอำเภอวังหิน  จังหวัดศรีสะเกษ โดยในสมัยนั้นยังไม่มีการแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านเพราะในสมัยนั้นมีผู้ใหญ่บ้านแค่บ้านเดียวคือผู้ใหญ่บ้านโพนยาง   และใช้ผู้นำคนเดียวร่วมกัน  5  หมู่บ้าน  อันได้แก่  บ้านโพนยาง  บ้านหนองแคน  บ้านทุ่งน้อย  บ้านป่าชาติ  และบ้านโพนเพ็ก  ต่อมาบ้านโพนเพ็กก็ได้ขึ้นตรงการปกครองที่  ตำบลศรีสำราญ  กิ่งอำเภอวังหิน  จังหวัดศรีสะเกษ  และในขณะนั้นผู้นำในการปกครองอยู่ที่หมู่บ้านป่าชาติ  และได้ปกครองทั้งสิ้น  4  หมู่บ้าน อันได้แก่  บ้านป่าชาติ  บ้านหนองแคน  บ้านทุ่งน้อย  และบ้านโพนเพ็ก 
          ต่อมาจำนวนประชากรและครัวเรือนในหมู่บ้านก็เพิ่มขึ้นเรื่อย  จนถึงประมาณ  30  หลังคาเรือน   และกฎหมายตอนนั้นได้ประกาศว่าหมู่บ้านใดมีจำนวนครัวเรือนในหมู่บ้าน  30  ครัวเรือนขึ้นไปสามารถเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านได้     บ้านโพนเพ็กก็เป็นหนึ่งในขณะนั้นที่ได้เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านและผู้ใหญ่บ้านคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้านโพนเพ็กคือ  พ่อใหญ่แก่น  สารโท
ทำเนียบผู้นำชุมชนหรือผู้ใหญ่บ้าน
1.       นายแก่น  สารโท
2.       นายขันติ  สมจันทร์
3.       นายบุญเหลือ  หมื่นสอน
4.       นายผงสุรีย์  จันทบุตร
5.       นายลำดวน  เทินสะเกษ  ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน
บ้านโพนเพ็กมีประชากรทั้งสิ้น  387
เป็นชาย  204  คน
เป็นหญิง  183  คน
จำนวนครัวเรือน  67 หลังคาเรือน
อาชีพหลัก  ทำนา
อาชีพเสริม  ทำสวนยาง,ปลูกมันสำประหลัง,ปลูกพริก,ปลูกหอม, ทำหอยเชอรีขาย
ประชากรในหมู่บ้านโพนเพ็กทั้งสิ้น  นับถือศาสนาพุทธ  โดยมีวัดป่าแดงเป็นศูนย์รวมจิตใจในการประกอบพิธีสำคัญๆทางศาสนา
เชื้อชาติพันธุ์ของคนในชุมชนส่วนใหญ่  เป็นเชื้อชาติไทย  ชนเผ่าลาว  มีส่วยและเขมรบางส่วนเนื่องมาจากจารอพยพย้ายถิ่นฐานและแต่งงานข้ามระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์
ประเพณีที่สำคัญๆที่คนในชุมชนสืบทอดต่อกันมา  ดังนี้
1.       ประเพณีทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่
2.       ประเพณีตามปฏิทินทางพุทธศาสนาที่ถูกกำหนดไว้
3.       ประเพณีวันสงกรานต์  รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ 
4.       ประเพณีบุญบั้งไฟ  (เลี้ยงปู่ตา)
5.       บุญข้าวจี่
6.       บุญข้าวประดับดิน
7.       บุญข้าวสารท
8.       กฐิน, ผ้าป่า  เป็นต้น
          บ้านโพนเพ็กมีลักษณะภูมิประเทศ  เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนาทำสวนและทำไร่เป็นอย่างยิ่งโดยมีอาณาเขตดังนี้
                   ทิศเหนือ      ติดกับ    หมู่บ้านทุ่งน้อย
                   ทิศใต้          ติดกับ   หมู่บ้านหนองทุ่ม
                   ทิศตะวันออก ติดกับ   พื้นที่ตำบลวังหิน
                   ทิศตะวันตก   ติดกับ   ทางหลวงหมายเลข  220  และบ้านหนองแคน




เครื่องมือที่ใช้ในการสัมภาษณ์คือ
แบบสัมภาษณ์
ข้อมูลทั่วไป  หมู่บ้านโพนเพ็ก ตำบลโพนยาง อำเภอวังหิน  จังหวัดศรีสะเกษ
1.       แบบสัมภาษณ์ชุดนี้เป็นแบบสัมภาษณ์ สำหรับกลุ่มผู้รู้ที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและบริบทของหมู่บ้าน
2.       แบบสัมภาษณ์ชุดนี้มี 2 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ให้สัมภาษณ์
ส่วนที่ 2 ประเด็นที่สัมภาษณ์

      ส่วนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ให้สัมภาษณ์
               ชื่อ................................................................นามสกุล......................................................................
               อายุ...........................................จบการศึกษา..................................................................................
               ภูมิลำเนาเดิม....................................................................................................................................
               ภูมิลำเนาปัจจุบัน..............................................................................................................................
               อาชีพ....................................................เบอร์ติดต่อ..........................................................................

       ส่วนที่ 2 ประเด็นที่สัมภาษณ์
1.       ประวัติความเป็นมาของบ้านโพนเพ็ก
2.       สภาพภูมิประเทศทั่วไป ที่ตั้ง / อาณาเขต / ลักษณะพื้นที่ของหมู่บ้านโพนเพ็ก
3.       สภาพการคมนาคม (ถนนในชุมชน / การเดินทางในชุมชน)
4.       สภาพการนับถือศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
5.       สภาพประชากรในชุมชน (จำนวนครัวเรือน)
6.       เศรษฐกิจ ชุมชน อาชีพ

ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน
1.       เนื่องจากไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติหมู่บ้าน  ทำให้ยากต่อการรวบรวมข้อมูลใหม่
2.       ผู้ที่ตอบแบบสัมภาษณ์อายุมากจนไม่สามารถอ่านหนังสือได้ ต้องให้ผู้สัมภาษณ์อ่านคำถามทีละข้อ
3.       ใช้ภาษาท้องถิ่นในการสัมภาษณ์
4.       เนื่องจากช่วงนี้เป็นฤดูฝนจึงยากต่อการเดินทางไปสัมภาษณ์เพราะบ้านผู้ให้สัมภาษณ์ตั้งอยู่ห่างไกล

5.       เนื่องจากต้องใช้เครื่องบันทึกเสียงในการบันทึกข้อมูลในการสัมภาษณ์เพราะผู้สัมภาษณ์จดบันทึกข้อมูลไม่ทันและอาจไม่ได้ครบ  ดังนั้นจึงบันทึกเสียงและนำมาแปรข้อมูล

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

เมืองพระนคร มรดกโลกแห่งกัมพูชา

          

          เมืองพระนคร คือ หลักฐานชิ้นส้าคัญที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่และรุ่งเรืองของอาณาจักรขอมในอดีต ทั้งยังสะท้อนภูมิปัญญาอันชาญฉลาดทางสถาปัตยกรรมและประติมากรรมของบรรพชนขอมโบราณ จนได้รับการยกย่องให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์โลกยุคใหม่

ประวัติความเป็นมา
             ประวัติศาสตร์ของหมู่ปราสาทเมืองพระนครได้เริ่มต้นขึ้นหลังพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (ครองราชย์ ค.ศ. 802-835) ประกาศแยกแผ่นดินเป็นอิสระจากชวา และพระเจ้าชัยวรมันที่ 3ครองราชย์ ค.ศ.835-877) ผู้สืบบัลลังก์ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างราชธานีขึ้นที่หริหราลัย(Hariharalaya) ตอนเหนือของโตนเลสาป(Tonle sap)
           เมื่อพระเจ้าอิทรวรมันที่ 1 (ครองราชย์ ค.ศ.877-889) ได้ขึ้นครองราชย์ ก็ทรงกระท้าตรีกรณียกิจส้าคัญ ไก้แก่ สร้างบาราย (Baray) ขนาดใหญ่ที่เมืองหริหราลัย สร้างเทวรูปสลักเป็นตัวแทนพระญาติประดิษฐานไว้ในปราสาทพระโค (Preah Ko) และสร้างปราสาทบากอง (Bakong) ขึ้นบนยอดเขา
           หลังจากนั้น พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 (ครองราชย์ ค.ศ.889-910) ผู้เป็นพระราชโอรสก็ได้มีพระราชด้าริให้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ยโสธรปุระ (Yasodharapura) หรือที่เรียกกันภายหลังว่า เมืองพระนครถือเป็นเป็นยุคที่มีการสร้างปราสาทร้อยแห่ง ปราสาทที่ส้าคัญ คือ ปราสาทพนมบางเค็ง (Phnom Bakheng)
           ครั้นพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 สิ้นพระชนม์กษัตริย์พระองค์ต่อๆมาได้สร้างนครแห่งใหม่ขึ้นที่เกาะแกร์ (Koh Ker) ก่อนที่พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 (ครองราชย์ ค.ศ.944-968) จะกลับมาบูรณะยโศธรปุระให้งดงามดังเดิม จนเมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (ครองราชย์ ค.ศ.968-1001) เป็นผู้พระราชโอรสขึ้นครองบัลลังก์ พราหมณ์ยัชญวราหะก็ได้สร้างปราสาทบันทายสรี (Banteay sri)ขึ้นมา 8
              ในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (ครองราชย์ ค.ศ.1010-1050)ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างปราสาทพระวิหารและปราสาทพิมายอากาศ (Phimeanakas) ก่อนที่พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 (ครองราชย์ ค.ศ.1050-1066) จะสร้างปราสาททบาปวน (Ba Puon) ในเวลาต่อมา เมื่อถึงรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (ครองราชย์ ค.ศ.1113-ราว ค.ศ.1150) นครวัดอันยิ่งใหญ่ก็ถือก้าเนิดขึ้นภายหลังเมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ขึ้นครองราชย์ ( ค.ศ.1181-1218)โปรดเกล้าฯให้ย้ายเมืองหลวงไปยังนครธมและสร้างปราสาทบายน รวมถึงปราตาพรหม (Ta Prohm)และปราสาทพระขรรค์(Preah Khan)ขึ้น

เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก
              เมืองพระนครได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2535 ซึ่งตั้งแต่ปีที่ลงทะเบียนเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2547 เมืองพระนครได้ถูกจัดให้เป็นแหล่งมรดกโลกที่ตกอยู่ในภาวะอันตราย
เมืองพระนครได้ถูกรับเลือกเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยมีเหตุผลดังนี้
              1. เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดท้าขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
              2. เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวนและภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
            3. เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

            4. เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

ปราสาทนครวัด

           นครวัด เป็นศาสนสถานตั้งอยู่ในเมืองพระนคร จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยเป็นศาสนสถานประจ้าพระนครของพระองค์ ตัวเทวสถานได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี จนเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่ส้าคัญเพียงแห่งเดียวที่ยังเหลือรอดมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จแต่เดิมนครวัดเป็นเทว สถานของศาสนาฮินดู ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระวิษณุ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นศาสนาพุทธ นครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ตัวเทวสถานถือเป็นที่สุดของสถาปัตยกรรมเขมรสมัยคลาสสิกรุ่งเรือง และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา โดยปรากฏในธงชาติ และเป็นจุดท่องเที่ยวหลักของประเทศ ตลอดจนได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองพระนคร
  

           ปราสาทนครวัด ได้เริ่มสร้างในกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เพื่อบูชาแด่พระวิษณุหรือ พระนารายณ์ ในปี พ.ศ. 1720 ชาวจามได้บุกรุกขอม ท้าให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ต้องย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองนครหลวง หรือ เสียมราฐ ในปัจจุบัน หลังจากนั้นพระองค์จึงสร้างเมืองนครธม และ ปราสาทบายน ห่างจากปราสาทนครวัดไปทางเหนือ เพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของชาวขอม
          ในปี ค.ศ. 1586 (พ.ศ. 2129) ได้มีนักบวชจากโปรตุเกส นามว่า อันโตนิโอ ดา มักดาเลนา เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้ไปเยือนปราสาทนครวัด แต่ที่จะถือว่าเป็นการเปิดประตูให้แก่ปราสาทนครวัดสู่สายตาชาวโลกนั้น คือการค้นพบของ อองรี มูโอต์ นักสะสมแมลงและนักส้ารวจชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วมา ที่จริงชาวกัมพูชาไม่เคยละทิ้งนครวัดไปเพราะหลังจากมีการย้ายเมืองหลวงมา อยู่ที่พนมเปญแล้ว ชาวบ้านก็ได้เขาไปตั้งรกรากภายในเขตนครวัดเรื่อยมา ปราสาทนครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างในยุคสิ้นสุดของราชอาณาจักรขะแมร์ โดยมีหินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก
           ปราสาทนครวัดมีขนาดใหญ่มากถึง 200,000 ตารางเมตร ตัวปราสาทสูง 60 เมตร ยาว 100 เมตร และกว้าง 80 เมตร มีแผนผังที่ถือว่าเป็นวิวัฒนาการขั้นสุดยอดของปราสาทขอม มีปราสาท 5 หลังตั้งอยู่บนฐานสูงตามคติของศูนย์กลางจักรวาล มีกำแพงด้านนอกยาวด้านละ 1.5 กิโลเมตร มีคูน้้าล้อมรอบตามแบบ มหาสมุทรบนสวรรค์ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ ใช้หินรวม 600,000 ลูกบาศก์เมตร ใช้แรงงานช้างกว่า 40,000 เชือก และแรงงานเกนคนนับแสนขนหินและชักลากหินมาจากเขาพนมกุเลน ชึ่งอยู่ห่างออกไปกว่า 50 กิโลเมตร มาสร้าง ปราสาทนครวัด มีเสา 1,800 ต้น หนักต้นละกว่า 10 ตัน ใช้เวลาสร้างร่วม 100 ปี ใช้ช่างแกะสลัก 5,000 คน และใช้เวลาถึง 40 ปี   หอสูง 60 กว่าเมตรศูนย์กลางของกลุ่มปราสาท อันเปรียบเสมือนศูนย์กลางของจักรวาลนั้น มีทางเดินขึ้นที่ชันมาก ราว 50 องศา แต่ก็กลับเป็นจุดสำคัญที่นักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัยจะต้องปีนขึ้นไปและไต่ลง มา ที่จุดบนสุดของหอนี้จะมองเห็นวิวที่สวยสุดของปราสาทนครวัด  


       ทางด้านกำแพงชั้นนอกรอบปราสาทนั้น มีความยาวกว่า 800 เมตร มีงานแกะสลักเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 และเรื่องราวจากวรรณคดีเรื่อง รามายณะ รูปแกะสลักที่มีชื่อที่สุดก็คือรูปที่เทวดากับอสูรกวนเกษียรสมุทรด้วยเขาพระ สุเมรุ และยังมีรูปแกะสลักนางอัปสรอีกถึง 1,635 นาง ที่ทั้งหมดแต่งกายและทรงผมไม่ซ้้ากันเลย

นครธม
           นครธม เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายและเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรขะแมร์ สถาปนาขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของ นครวัด ภายในเมืองมีสิ่งก่อสร้างมากมายนับแต่สมัยแรกๆ และที่สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และรัชทายาท ใจกลางพระนครเป็นปราสาทหลักของพระเจ้าชัยวรมัน เรียกว่า ปราสาทบายน และมีพื้นที่ส้าคัญอื่นๆ รายล้อมพื้นที่ชัยภูมิถัดไปทางเหนือ



           จุดเด่นที่สุดคือทางเข้าด้านใต้ ที่มีลักษณะเป็นหน้า 4 หน้า ก่อนจะเข้าสู่บริเวณนี้ จะเป็นแถวของยักษ์ (อสูร) ทางด้านขวา และเทวดาทางด้านซ้าย เรียงรายแบกพญานาคอยู่สองข้างสะพาน เมื่อเข้าสู่ใจกลางนครธมจะพบสิ่งก่อสร้างต่างๆ บริเวณประตูด้านใต้นี้ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูไว้ได้ดีกว่าบริเวณอื่นๆ อีก 3 ด้าน

ปราสาทบายน
              ปราสาทบายน เป็นปราสาทหินของอาณาจักรเขมร อยู่ในบริเวณของใจกลางนครธม สร้างขึ้นเป็นวัดประจ้าสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก่อสร้างในราวปี พ.. 1724-.. 1763 หลังจากที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7ทรงได้ชัยชนะจากการขับไล่กองทัพอาณาจักรจามปา นับเป็นศาสนสถานที่ ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีความซับซ้อนทั้งในแง่โครงสร้างและความหมาย เนื่องจากผ่านความเปลี่ยนแปลงด้านศาสนาและความเชื่อมาตั้งแต่คราวนับถือเทพเจ้าฮินดู และพุทธศาสนา อาคารมีลักษณะพิเศษ เนื่องจากส่วนของหอเป็นรูปหน้าหันสี่ทิศ จ้านวน 49 หอ ปัจจุบันคงเหลือเพียง 37 หอ ลักษณะโดยทั่วไปจะมี 4 หน้า 4 ทิศ แต่บางหออาจมี 3 หรือ 2 แต่บริเวณศูนย์กลางของกลุ่มอาคาร จะมีประมาณ 200 กว่าหน้า


             ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของ บายน ก็เช่นเดียวกับเรื่องความเชื่อ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงมาในหลาย ๆ สมัย กษัตริย์ในยุคหลัง ๆ พบว่าเป็นการง่ายกว่าที่จะปรับปรุงวัดแห่งนี้ แทนที่จะรื้อสร้างใหม่เช่นที่ท้ากัน และใช้เป็นวัดประจ้าสมัยต่อเนื่องกันมา


            รอบปราสาทบายนที่เสียมเรียบจะ ปรากฏภาพโดยเฉพาะภาพแกะสลักอายุนับพันปีเหล่านั้น รอบปราสาทบายนจะเห็นภาพของการประดั่ญ เรียกเป็นภาษาไทยว่าภาพการต่อสู้ อยู่บนก้าแพงปราสาทบายนมวย มีมานานตั้งแต่สมัยขอมเรืองอ้านาจค้าว่ามวยเอง เป็น ภาษาขะแมร์ แปลว่าหนึ่ง ทั้งหมดนี้ไทยรับค้ามาจากขะแมร์เพราะอิทธิพลความรุ่งเรืองของขะแมร์ที่รับมา จากขอม มาจากค้าว่า "เนี๊ยะประดั่ญเลขมูย" อันมีความหมายว่านักสู้อันดับหนึ่ง และเรียกกันสั้น ๆ ว่า"เนี๊ยะมูย" และคนไทยน้ามาเรียกสั้น ๆ ว่า "นักมวย"

ปราสาทบาปวน
               ปราสาทบาปวน สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของปราสาทบายนภายในนครธม เป็นปราสาททรงพีระมิดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์ประธานมียอดเรียวแหลมคล้ายปราสาทพนมรุ้ง ซึ่งเชื่อกันว่าท้าจากส้าริด แต่ปัจจุบันพังทลายลงหมดแล้ว


               ปราสาทบาปวนมีระเบียงคด 3 ชั้น ที่เชื่อมต่อกันตลอด มีโคปุระขนาดใหญ่สุดอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์ทองค้า สัญลักษณ์แห่งพระศิวะ ทว่าได้สูญหายไปนานแล้ว นอกจากนี้ภายในปราสาทยังปรากฏภาพสลักแนวดิ่งอันเป็นเอกลักษณ์ศิลปะแบบบาปวน

ปราสาทบันทายศรี
              ปราสาทบันทายศรี เป็นปราสาทหินที่ถือได้ว่างดงามที่สุดในประเทศกัมพูชา มีความกลมกลืนอย่างสมบูรณ์ และเป็นปราสาทแห่งเดียวที่สร้างเสร็จแล้วกว่า 1000 ปี แต่ลวดลายก็ยังมีความคมชัด เหมือนกับสร้างเสร็จใหม่ ๆ


             ปราสาทบันทายศรีหรือเรียกตามสำเนียงเขมรว่า “บันเตียไสร” หมายถึง ปราสาทสตรีหรือป้อมสตรี อยู่ห่างจากตัวเมืองเสียมเรียบไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 30 กิโลเมตร ใกล้กับแม่น้ำเสียมเรียบในบริเวณที่เรียกว่า อิศวรปุระ หรือเมืองของพระอิศวร
           ปราสาทแห่งนี้สร้างอุทิศถวายพระอิศวรภายใต้พระนามว่า "ตรีภูวนมเหศวร" หรือ "ผู้เป็นใหญ่แห่งโลกทั้งสาม" ปราสาทมีขนาดเล็ก สร้างด้วยหินทรายสีชมพูซึ่งหายาก สร้างขึ้นเมื่อเดือนเมษายน - พฤษภาคม พ.. 1510 โดยพราหมณ์ยัชญวราหะ ในตอนปลายของสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 (หรือพระเจ้า ชัยวรมันที่ 4 .. 1487 - 1511) และเสร็จในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (.. 1511-1554)
1. ซุ้มประตูทางเข้า จ้าหลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณลวดลายมีความละเอียดสวยงามมาก
2. ซุ้มทางซ้ายมือ จ้าหลักภาพพระอิศวรทรงโค มีพระอุมาเทวีประทับด้านซ้าย
3. ซุ้มทางขวามือ มีรูปพระนารายณ์อวตารเป็นนรสิงห์ 16
           ผ่านประตูเข้าไปจะเห็นปราสาทองค์แรก สร้างอยู่เหนือฐานเดียวกันซึ่งสูง 90 เซนติเมตร ขนาบด้วยบรรณาลัย ซึ่งเป็นที่เก็บรักษาตำราหรือวัตถุที่ใช้ในพิธีเคารพบูชา มีประตูเข้าทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ซุ้มประตูหรือโคปุระนี้ ประดิษฐานปฏิมากรรมด้วยลวดลายที่งามวิจิตรอ่อนช้อย ลวดลายประดับที่ปราสาทบันทายศรี สลักเสลาอย่างวิจิตรบรรจง ไม่ว่าจะเป็นเทพธิดาหรือนางอัปสรา ก็เต็มไปด้วยความสง่างามและมีชีวิตจิตใจ
             ในกรอบซุ้มปราสาทองค์แรก มีรูปพระศิวะกำลังร่ายร้า หรือที่เรียกว่า ศิวนาฏราช ท่าร้าของพระองค์มีถึง 108 ท่า แต่ละท่ามีผลต่อฟ้าดิน หน้าบันของห้องสมุดทางด้านทิศใต้ สลักภาพพระอิศวรกำลังประทับนั่งอยู่เหนือเขาไกรลาศ

           ที่หน้าบันห้องสมุดทางด้านทิศเหนือ แสดงภาพพระอินทร์กำลัง บันดาลให้ฝนตกลงมา บนอาคารเดียวกันนี้ เหนือหน้าบันทางทิศตะวันตกแสดงภาพพระกฤษณะก้าลังประหารพระยากงศ์ในพระราชวัง ภาพสลัก ณ ปราสาทบันทายศรี นอกจากความงดงามในฝีมือการสลักแล้ว ยังมีคุณค่าเกี่ยวกับมนุษย์อย่างลึกซึ้ง อันเห็นได้จากความรู้สึกที่แสดงออกมาจากภาพเหล่านั้น ซึ่งเป็นพยานหลักฐานชิ้นแรก ที่ท้าให้เราทราบเกี่ยวกับชีวิตของชาวขอมในต้นพุทธศตวรรษที่ 16

กลุ่มปราสาทร่อลวย (Rolous)
            สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 นับเป็นกลุ่มปราสาทที่เก่าแก่ที่สุดของอาณาจักรขอม ใช้วัสดุจ้าพวกอิฐและหินทรายเรียงต่อกันกันเป็นแถว จุดเด่นอยู่ที่ทับหลังซึ่งจ้าหลักเป็นลวดลายงดงามอ่อนช้อยโดยเฉพาะลายเครือเถา ซึ่งเป็นทักษะที่พัฒนามาจากงานแกะสลักไม้
         กลุ่มปราสาทร่อลวย ประกอบด้วย

         ปราสาทพระโค

         ปราสาทพระโค เป็นปรางค์ปราสาทจ้านวน 6 องค์ แถวหน้า 3 องค์ และแถวหลัง 3 องค์ ตัวปราสาทท้าจากอิฐ ส่วนกรอบประตูหน้าต่างท้าจากหินทราย สร้างบนฐานที่ท้าจากหินทราย เช่นเดียวกัน แต่ละปรางค์เป็นตัวแทนพระญาติของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1
           ตัวปราสาทประดับทับหลังศิลาทรายซึ่งมีกลิ่นอายศิลปะชวา ด้วยการแกะสลักนูนสูงเป็นรูปหน้ากาฬคาบพวงมาลัย รูปยักษ์ทวารบาล เทวดา และนางอัปสราในซุ้มเรือนแก้ว เชิงบันไดด้านนอกมีรูปสลักสิงห์คู่ ด้านหน้าเทวลัยมีรูปสลักโคนนทิ พาหนะของพระศิวะที่ท้าจากหินทราย นับเป็นสิ่งที่โดดเด่นที่สุดของปราสาทแห่งนี้ 18

          ปราสาทบากอง

          ปราสาทบากอง สร้างขึ้นภายหลังปราสาทพระโค ถือเป็นปราสาทต้นแบบที่สร้างเป็นพีระมิด 5 ชั้น แต่ละชั้นสร้างขึ้นจากหินทราย ยกเว้นปรางค์ประธานชั้นบนสุดที่ยังสร้างด้วยอิฐซึ่งต่อมาได้รับการซ่อมแซมด้วยศิลปะแบบบาปวนจึงมีรูปแบบแตกต่างจากฐานล่าง
          ปราสาทแห่งนี้มีโคปุระทิศตะวันตกและตะวันออกใหญ่กว่าทิศเหนือและทิศใต้ ทางเข้าปราสาททั้งสองข้างมีประติมากรรมลอยตัวรูปนาคขนาดใหญ่ ด้านข้างบันไดสู่ปรางค์ประธานมีภาพจ้าหลักนางอัปสราและยักษ์ หน้าบันและทับหลังของปรางค์ประธานเป็นภาพสลักจากเรื่อง รามายณะ 19

           ปราสาทโลเลย

            ปราสาทโลเลย ประกอบด้วยปราสาท 4 หลัง เรียงซ้อนกันเป็น 2 แถว เหมือนปราสาทพระโคโดยปราสาทด้านทิศตะวันออกมีขนาดใหญ่ที่สุดสร้างขึ้นโดยใช้อิฐ ปัจจุบันทรุดโทรมเกือบทั้งหมด แต่ก็ยังมองเห็นร่องรอยของรูปสลักตามกรอบประตูและทับหลัง อาทิ รูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ฤๅษีบ้าเพ็ญตบะ สิงห์คาบพวงอุบะ ภาพลายก้านต่อดอกและพรรณพฤกษา 

ทำไมชื่อปราสาทหรือชื่อศิลปะของขอมโบราณมักมีคาว่าบานาหน้า

         ชื่อปราสาทในประเทศกัมพูชามักขึ้นต้นด้วยค้าว่าบาเช่น บากอง บายน บาปวน ฯลฯ ทั้งนี้ บา มีความหมายว่า ศักดิ์สิทธ์ ใช้กับคนก็ได้ อย่างค้าว่า ครูบาอาจารย์ หรือบาธรรมราช 20 


ที่มา
   -  อุดม เชยกีวงศ์. วัฒนธรรมขอม กับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา. กรุงเทพฯ :ภูมิปัญญา,2552.
   - ราชอาณาจักรกัมพูชา.กรุงเทพฯ: บริษัท สถาพรบุ๊คส์ จ้ากัด , 2555
   - มรดกโลกทางวัฒธรรมในอาเซียน. กรุงเทพฯ: บริษัท สถาพรบุ๊คส์ จ้ากัด , 2555
   - เอกรินทร์ พึ่งประชา. มรดกโลก มรดกแห่งมนุษย์ชาติ. กรุงเทพฯ: ปาเจรา, 2550
   - ตานานนครวัด. กรุงเทพมหานคร : ส้านักพิมพ์ไม้งาม , 2525
    - “มรดกโลก” [ออนไลน์] http://th.wikipedia.org/wiki/
   -  “มรดกโลกในอาเซี่ยน” [ออนไลน์] http://www.satapornbooks.co.th