วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รอบรู้เกี่ยวกับมรดกโลก


 จุดเริ่มต้นมรดกโลก
             ราวกลางคริสต์ ศตวรรษที่ 20 เมื่อรัฐบาลอียิปต์ ตกลงใจจะสร้างเขื่อนอัสวาน (Aswan High Dam) ขวางลำน้ำไนล์ทางตอนเหนือของประเทศ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางการเกษตรในหน้าแล้ง ป้องกันอุทกภัยในฤดูน้ำหลาก รวมถึงผลิตกระแสไฟฟ้าจ่ายให้ชาวอียิปต์ใช้ทั่วประเทศ ผลที่ตามมาคือโบราณสถานจำนวน 23 แห่ง ซึ่งรวมถึงมหาวิหารอาบูซิมเบล (Abu Simbel) แห่งฟาโรห์รามเสสที่ 2       (Ramses II) ที่สร้างขึ้นเมื่อ กว่า 1,270 ปี ก่อนคริสตกาลต้องจมอยู่ใต้บาดาลอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง
       ด้วยอียิปต์เองไม่สามารถดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดให้โบราณสถานทั้งหมดนี้รอดพ้นวิกฤตการณ์ ได้โดยลำพัง  องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก        (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization : U N E S C O ) จึงได้จัดส่งนักโบราณคดี และผู้ เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ไปยังพื้นที่ดังกล่าวโดยเร่งด่วนเพื่อศึกษาวิจัยและหาวิธีที่จะรักษาโบราณสถานทั้ง 23 แห่งไว้
        ในที่สุดรัฐภาคี ยูเนสโก 50 ประเทศจึงได้ ระดมเงินทุนและให้ ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี   เป็นงบประมาณกว่า 80 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเคลื่อนย้ายมหาวิหารอาบูซิมเบลและโบราณสถานอื่นๆ ไปประกอบใหม่ยังพื้นที่ปลอดภัย แต่ก็สามารถขนย้ายได้เพียง 14 แห่งเท่านั้น
       นับจากนั้นเป็นต้นมา หลายชาติเริ่มหันกลับมาสนใจมรดกล้ำค่าในประเทศของตน ไม่ว่าจะเป็นเมืองเวนิส (Venice) ประเทศอิตาลี ซากนครโมเฮนโจดาโร (Mohenjo Daro) ประเทศปากีสถาน รวมถึงกลุ่มวัดบุโรพุทโธ (Borobudur) ประเทศอินโดนีเซีย
         ด้านยูเนสโกก็ได้จัดตั้งสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (International Council on Monuments and Sites : ICOMOS) ให้เป็นที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการของยูเนสโกเพื่อทำงานด้านการอนุรักษ์และปกป้องคุ้มครองโบราณสถานรวมถึงร่าง อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ” (Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage) หรือเรียกสั้นๆ ว่า อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก”(World Heritage Convention) ซึ่งสมาชิกขององค์การยูเนสโก 177 ประเทศมี มติยอมรับในการประชุมใหญ่สมัยสามัญครั้งที่ 17 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1972 โดยหวังให้เป็นการสร้างหลักประกันความร่วมมือระหว่างประเทศด้วยส้านึกร่วมกันในอันที่จะสงวนรักษามรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติให้คงอยู่สืบไป

        มรดกโลก
        มรดกโลก (Word Heritaeg) หมายถึง แหล่งวัฒนธรรมและธรรมชาติที่มีคุณค่าโดดเด่นระดับสากล จนได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนให้เป็นแหล่งมรดกโลก ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ และเมื่อได้รับการยอมรับให้เป็นแหล่งมรดกโลกแล้ว ไม่ว่าจะมีที่ตั้งอยู่ในขอบเขตดินแดนของประเทศใดก็ถือได้ว่าเป็นมรดกมวลมนุษยชาติในโลก
        มรดกโลกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritaeg) และมรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritaeg)

        มรดกโลกทางวัฒนธรรม มีความหมายครอบคลุมสิ่งต่างๆ ดังนี้
        อนุสรณ์สถาน ครอบคลุมผลงานทางสถาปัยกรรม ประมากรรมหรือจิตรกรรม ส่วนประกอบหรือโครงสร้างธรรมชาติทางโบราณคดี จารึก ถ้้าที่อยู่อาศัยและการผสมผสานกันขององค์ประกอบ ซึ่งมีคุณค่าโดดเด่นระดับสากล ในมิติทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ หรือวิทยาศาสตร์
       กลุ่มของอาคาร ทั้งที่เชื่อมต่อกันหรือแยกจากกัน ซึ่งมีคุณค่าโดดเด่นระดับสากล ในมิติทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ หรือวิทยาศาสตร์ ด้วยสถาปัตยกรรม ความสอดคล้องกลมกลืน หรือสภาพภูมิทัศน์
          แหล่งที่ตั้ง ทั้งผลงานของมนุษย์ หรือผลงานร่วมระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ รวมถึงแหล่งโบราณคดี ซึ่งมีคุณค่าโดดเด่นระดับสากล ในมิติทางประวัติศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ ชาติวงศ์วิทยา หรือมานุษยวิทยา

           มรดกโลกทางธรรมชาติ มีความหมายครอบคลุมสิ่งต่างๆ ดังนี้
           สภาพธรรมชาติ อันประกอบด้วยรูปแบบทางกายภาพและชีวภาพหรือกลุ่มของสภาพธรรมชาติดังกล่าว ซึ่งมีคุณค่าโดดเด่นระดับสากลในมิติทางสุนทรีศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์
           การก่อเกิดรูปแบบทางธรณีวิทยาและธรณีสัณฐาน หรือบริเวณที่ชัดแจ้งว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสายพันธุ์สัตว์และพืชที่ก้าลังถูกคุกคามอันมีคุณค่าโดดเด่นระดับสากล ในมิติทางวิทยาศาสตร์ การอนุรักษ์
          แหล่งธรรมชาติ หรือพื้นที่ทางธรรมชาติอันมีคุณค่าโดดเด่นระดับสากลในมิติทางวิทยาศาสตร์ การอนุรักษ์ และความงดงามตามธรรมชาติ

การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
มีขั้นตอน ดังนี้
    1. รัฐบาลประเทศสมาชิกยูเนสโกจัดท้ารายชื่อสถานที่ภายใต้อธิปไตยของตนเรียกว่า บัญชี รายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ไปยังส้านักงานเลขานุการคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งมี ส้านักงานใหญ่อยู่ที่องค์การยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
     2. รัฐบาลของประเทศดังกล่าวเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากบัญชี รายชื่อเบื้องต้นเพื่อจัดท้าแฟ้มข้อมูล (Nomination File) อย่างละเอียดพร้อมทั้งแผนที่แสดงที่ตั้งเพื่อแสดงให้เห็นความส้าคัญของสถานที่นั้นในการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
    3. แฟ้มข้อมูลดังกล่าวจะได้รับการตรวจสอบจากองค์กรที่ปรึกษาโดยในส่วนของมรดกทางวัฒนธรรม คือ สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (The International Council on Monuments and Sites : ICOMOS) และศูนย์ระหว่างชาติว่าด้วยการศึกษาการอนุรักษ์ และปฏิสังขรณ์ สมบัติทางวัฒนธรรม (The International Centre for the Study of the Preservation and Restoration of the Cultural Property : ICCROM) ขณะที่ในส่วนของมรดกทางธรรมชาติ คือ สหภาพการอนุรักษ์โลก (The International Union for Conservation of Nature : IUCN)
     4. เมื่อได้ พิจารณาการประเมินคุณค่าที่องค์กรที่ปรึกษาได้น้าเสนอแล้วคณะกรรมการบริหารมรดกโลก (World Heritage Bureau) จะมีมติเป็นข้อเสนอแนะเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ4       มรดกโลก (World Heritage Committee) พิจารณาตัดสินต่อไป โดยคณะกรรมการมรดกโลกจะประชุมร่วมกันปีละ 1 ครั้งในการประชุมสมัยสามัญประจ้าปี เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่เสนอชื่อแห่งใดบ้างสมควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม
        โบราณสถานที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมจะต้องมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ ตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน (World Heritage Criteria) ดังนี้
     1. เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดท้าขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
    2. เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
    3. เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
     4. เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
     5. เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตาม กาลเวลา
    6. มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

อุปสรรคในการอนุรักษ์มรดกโลก
          การเริ่มต้นอนุรักษ์มรดกโลกที่ครบรอบ 40 ปี ใน ค.ศ. 2012 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วกระจายตัวอยู่ในกว่า 150 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมรดกโลกแต่ละแห่งยังต้องเผชิญกับปัญหาส้าคัญต่างๆ อาทิ
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นระดับน้้าทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น การเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดอยู่บ่อยครั้งล้วนส่งผลกระทบต่อการเสื่อมสลายของมรดกโลก
         การคุกคามจากฝีมือมนุษย์ ทั้งการก่อสร้างในพื้นที่มรดกโลกความคับคั่งของการจราจรในบริเวณใกล้เคียง มลภาวะทางเสียงจากการจัดการท่องเที่ยว อันส่งผลด้านลบต่อสภาพแวดล้อมของมรดกโลก
               ปัญหาด้านกฎหมาย ประเทศสมาชิกเจ้าของมรดกโลกยังมีข้อจ้ากัดในการผลักดันกฎหมายในการดูแลมรดกโลกของตนทั้งยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการมรดกโลกอย่างเหมาะสมขณะที่บางประเทศแม้จะตรากฎหมายเพื่อการอนุรักษ์ มรดกโลก แต่ก็ติดขัดในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ
        ปัญหาด้านงบประมาณ  เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดูแลสภาพมรดกโลก  ซึ่งรวมถึงปัญหาการพัฒนาบุคลากรให้เกิดความรู้พบว่าประเทศที่ปกครองแบบกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นจะสามารถดำเนินการอนุรักษ์มรดกโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากผู้เกี่ยวข้องโดยตรงสามารถร่วมตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม



อ้างอิง

มรดกโลกทางวัฒธรรมในอาเซียน. กรุงเทพฯ: บริษัท สถาพรบุ๊คส์ จ้ากัด , 2555
เอกรินทร์ พึ่งประชา. มรดกโลก มรดกแห่งมนุษย์ชาติ. กรุงเทพฯ: ปาเจรา, 2550
มรดกโลก” [ออนไลน์] http://th.wikipedia.org/wiki/
        

ภูมิปัญญาท้องถิ่นศรีสะเกษ (รำแม่สะเอิง)

 ประวัติความเป็นมา      
                    คำว่า  สะเอิง  มาจากภาษาส่วยคือ  สะเอง แต่คนลาวจะเรียกว่าสะเอิง มีความหมายเหมือนกันทั้งภาษาลาวและภาษาส่วยแต่จะเรียกต่างกันเท่านั้น  ความหมายคือ ครก  คุณยายในอดีตแก่เก่า เล่าสืบต่อกันมา  และสืบทอดให้ลูกหลานปฏิบัติสืบต่อกันมาว่า  สมัยก่อน  มีเครือเถาวัลย์หย่อนลงมาจากเมืองพระยาแถนจนถึงเมืองมนุษย์  เมืองพระยาแถนเป็นเมืองผีพอพลบค่ำชาวเมืองมนุษย์ก็พากันตำข้าวเข็นฝ้าย  โดยส่วนมากจะเป็นสาว ๆ  ส่วนผีแม่สะเอิงเป็นผู้ชายได้แปลงกายเป็นมนุษย์  ลงมากับเครือเถาวัลย์  มาเที่ยวจีบสาวเข็นฝ้ายตำข้าวที่เมืองมนุษย์  ส่วนหนุ่ม ๆ  เมืองมนุษย์ก็โกรธจึงพากันไปตัดเครือเถาวัลย์ทิ้งเสีย  ทำให้ผีเมืองพระยาแถนกลับขึ้นมาไม่ได้จึงโกรธแค้นมนุษย์บันดาลให้มนุษย์เกิดอาการเจ็บป่วย  เป็นไข้  ต่าง ๆ  นา ๆ  รักษาอย่างไรก็ไม่หาย  ชาวเมืองจึงให้โหนมาทำนายดูว่า  เกิดจากสาเหตุอะไร  ทำให้ทราบความจริงว่า  เกิดจากผีแม่สะเอิงทำ  เพราะโกรธแค้นที่มีคนไปตัดเครือเถาวัลย์ทิ้ง  ชาวบ้านจึงแต่งเครื่องเซ่นไหว้ให้เขาอยู่เขาจะได้มาสิงที่ตัวคนป่วยให้เป็นตัวของเขาเอง  และหายจากความเจ็บป่วย  และเมื่อถึงเวลาเดือนสามให้แต่งเครื่องสังเวยให้เขาและมีร่างทรงให้เขาด้วยพร้อมทั้งมีเครื่องดนตรีประกอบคือ  โทน  แคน  เพื่อผีแม่สะเอิงจะเข้าสิงร่างทรง  ได้ทำรำ  ฟ้อนรำต่าง ๆ  ที่เขายากจะรำและชาวบ้านได้ทำให้เขา  คนที่เจ็บไข้ก็จะหายจริง ๆ  จึงได้ถือปฏิบัติกันมาเสียจนถึงปัจจุบันนี้  เหตุที่เรียกว่าแม่สะเอิงนั้นเวลาเขาสิงร่างคนนั้น  เราจะเอาอะไรให้เขาก็ไม่เอา  นอกจากสะเอิงหรือครกตำพริกให้ร่างทรงจับ  และออกจากร่างทรงนั้นไป  และทำให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข

                       ปัจจุบันการรำแม่สะเอิง  จะปฏิบัติกันในเดือนสามของทุกปีเท่านั้นโดยจะทำกันเป็นกลุ่มมีร่างทรงประมาณ  10-20  คน  ต่อกลุ่มคนที่จะเป็นร่างทรงได้นั้ยส่วนใหญ่จะมีอาการเจ็บปวดก่อนและให้โหนทำนายดูถ้ารู้ว่ามีแม่สะเอิงอยากจะเขาสิงร่างเพื่อทำกายร่ายรำก็จะแต่งเครื่องสังเวยได้ทำพิธีให้แม่สะเอิงเข้าสิง  ถ้ามีแม่สะเอิงเข้าสิงอาการป่วยก็จะหาย  และถ้าถึงเดือนสามของทุกปีก็จะแต่งเครื่องสังเวย  ให้ผีแม่สะเอิงร่างเพื่อร่ายรำต่อไป

    วิธีประกอบเครื่องสังเวย
                1.ตั้งโฮงล่ามขา  ทำด้วยก้านกล้วย มัดไล่กันข้างบนแคบข้างล่างกว้างเพื่อใส่บายสี  4  ถ้วยประดับประดาด้วยดอกไม้หลายสีแต่ละถ้วยประกอบด้วย  กล้วย  4  กลีบ  ข้าวต้ม  4 กลีบ  ข้าวสวย  1ช้อน  ข้าวอ้อล้อ  4  ก้อน
              2.ผ้าซิ่นผ้าแพรวา  ข้าวสาร 1 ถ้วย   ไข่ 1 ฟอง  เทียนตีกา 1 คู่  เหล้า 1 ขวด  น้ำหวาน 1 ขวด  ฝ้ายผูกแขน  น้ำหอม  1  ขัน
              3.เครื่องประกอบ  
   - ขันมะเม็ง  1  ครู่  
   - ซวยแหลมสองแปด 
   - ซวยตีกา  1  ครู่เย็บช่อ 5-1  ครู่  ช่อ  9-1 ครู่  เย็บด้วยใบตองกล้วยสด  
   - ดอกไม้  8  ฮวด  ร้อยด้วยดอกลั่นทม(ภาษาลาวเรียกดอกจำปา)  
   - ชองใบมะพร้าว  1  ครู่ทำด้วยใบมะพร้าว  
   - ชองใบหมี่  1  ครู่ทำด้วยใบขนุน  
   - ซวยเปล  1  ครู่ 
   - หมากมีมล  1  ครู่  
   - พวงมาลัย  1  ครู่ทำด้วยใบตาล  
   - ใยแมงมุม  1  ครู่  ทำด้วยด้ายสองสี  
   - กล้วย  1  หวี  
   - ข้าวต้ม  4  กลีบ   

             พิธีกรรม
             พิธีเล่นสะเอิงเริ่มจากเจ้าภาพนำดอกจำปาหรือดอกจานคู่หนึ่งใส่พาน หรือขัน ไปเชิญแม่สะเอิงที่เป็นแม่ทรง แม่สะเอิงบริวารของแม่ทรง 5 - 9 คน และมือฆ้องอีก 1 คน มือกลอง 1-3 คน บางแห่งอาจมีแคน ฉิ่ง ฉาบด้วย ในพิธีการรำจะเริ่ม โดยแม่ครูจะบนบานบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทางไม่ให้มีอุปสรรคขัดขวางในการทำพิธี การทำพิธีนั้นจะอัญเชิญแถนให้เข้ามาสู่ร่างกาย และมาสู่แม่ฟ้อน (นางรำ) คนอื่นๆ โดยแม่สะเอิงถือขันภายในมีข้าวสาร เงิน เทียนเหลืองห่อหนึ่งและจุดเทียนขาวคู่หนึ่ง เมื่อผีเข้าทรง ร่างแม่ทรงก็สั่นทั้งตัว มือที่ถือขัน สั่นกระตุก จนเทียนดับ ขันหลุดมือ ข้าวสารหกกระจายขณะที่กลอง ฆ้อง ก็เริ่มบรรเลง เมื่อเข้าทรงเสร็จแล้วก็รำพร้อมกันไปตามจังหวะและมีแม่ครูเป็นคนร้องนำแล้วคนอื่นๆ ก็จะร้องตามรำเอนอ้อมปะรำพิธี รำไปจนกว่าแถนจะออกจึงเลิกรำกันไปเอง มีการพักเพื่อรับประทานอาหารว่างระหว่างการรำสะเอิงด้วย เมื่อฟ้อนรำไปได้ระยะหนึ่ง บรรดาแม่สะเอิงก็ใช้ด้ายที่แขวนบนชั้นมาทัดหูและนำมาลัยดอกจำปาหรือมาลัยดอกนาน มาสวมลงบนศีรษะ มือกลอง มือฆ้องก็สวมมาลัยดอกไม้เช่นเดียวกัน จากนั้นก็ฟ้อนแสดงการละเล่นต่าง ๆ เริ่มด้วย แห่เทียนเข้าพรรษา อันแสดงถึงความแนบแน่นในพุทธศาสนา เล่นเป็นหนุ่ม เป็นสาว เกี้ยวพาราสีปรับไหมกัน สะท้อนจารีตประเพณีการดำเนินชีวิต เล่นปล่อยวัว ปล่อยควาย โดยแม่สะเอิงทุกคน เสียบดอกไม้ที่ง่ามนิ้วมือสมมุติแทนวัวควาย ผู้ขโมยวัวควายก็จะแอบดึง ดอกม้า จากง่ามนิ้วนั้นแล้วมีการปรับไหมเป็นเหล้า ยาสูบ แล้วเล่นปราบจระเข้ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความชั่วร้าย เล่นจุดบั้งไฟเพื่อขอฝนเพื่อการเกษตร และ สุดท้ายคือเล่นตักบาตร เพื่อแสดงถึงความมีใจบุญสุนทานในพุทธศาสนา ในบางแห่งผีบรรพบุรุษ จะมาเข้าทรง ในร่างของแม่สะเอิงทีละคน เริ่มจากผู้หลักผู้ใหญ่ใน วงศ์ตระกูล อาจเป็นปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ และญาติที่ล่วงลับไปแล้วจนครบทุกคน เมื่อเข้ามาอยู่ในร่างทรงแล้ว จะทักถามลูกหลาน ลูกหลานก็ถามข่าวคราวของ ผีแถนและผีบรรพบุรุษ อดีตชาติของผีบรรพบุรุษเคยแสดงอย่างไร ก็ปรากฏอย่างนั้น เช่น เสียงห้าว เสียงแหลม สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เคี้ยวหมากพลู ผีแถน และ ผีบรรพบุรุษจะทักท้วงสาเหตุที่ลูกหลานเจ็บไข้ได้ป่วยเพราะกระทำผิดหรือล่วงเกินอันใด ลูกหลานจะต้อง ขอขมาอาหารหาอาหารมาเลี้ยงเป็นรายๆ ไป บางครั้งแถนที่เข้าทรง แม่สะเอิงที่อ่อนแอขี้โรคสามารถดื่มเหล้าได้มาก โดยไม่มีอาการเมามาย หรือสามารถสูบบุหรี่ที่มีพริกแห้ง สอดไส้ได้โดยไม่จามในการรำนั้น เพื่อความเป็นระเบียบสวยงามนิยมให้สวมใส่เสื้อผ้าสีเดียวกัน มีผ้าพาดบ่าเรียกว่า ผ้าแพรแฮมีพวงมาลัยที่ร้อยด้วยดอกจำปา(ลั่นทม) มาคล้องคอ หรือสวมศีรษะด้วย มีแม่ครูเป็นผู้ร้องและรำไปด้วย การร้องบูชาแถนนั้นเป็นคำอ้อนวอนที่ขอให้ผู้ป่วยหายป่วย เร็วๆ เรียกขวัญให้กลับมาสู่ ร่างกาย ความเจ็บอย่าให้ได้ความไข้อย่าให้มี พิธีกรรมนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสมัครสมานสามัคคีของชาวบ้าน ปลูกฝังคุณธรรม ให้ลูกหายรู้จัดเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ ปฏิบัติตามประเพณีที่ดีงาม
                                                            
   ประวัติผู้ให้สัมภาษณ์หรือให้ข้อมูล
         
นางสอน ชมพูวงศ์
เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485

อาชีพ   ทำนา

ที่อยู่ปัจจุบัน    บ้านเลขที่   35/1 หมู่ที่ 2 บ้านดวนใหญ่   ตำบลดวนใหญ่   อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ 33270

ผลงาน-ความสามารถ

     นางสอน ชมพูวงศ์ เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและเป็นผู้นำในการทำพิธีรำแม่สะเอิง