วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รอบรู้เกี่ยวกับมรดกโลก


 จุดเริ่มต้นมรดกโลก
             ราวกลางคริสต์ ศตวรรษที่ 20 เมื่อรัฐบาลอียิปต์ ตกลงใจจะสร้างเขื่อนอัสวาน (Aswan High Dam) ขวางลำน้ำไนล์ทางตอนเหนือของประเทศ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางการเกษตรในหน้าแล้ง ป้องกันอุทกภัยในฤดูน้ำหลาก รวมถึงผลิตกระแสไฟฟ้าจ่ายให้ชาวอียิปต์ใช้ทั่วประเทศ ผลที่ตามมาคือโบราณสถานจำนวน 23 แห่ง ซึ่งรวมถึงมหาวิหารอาบูซิมเบล (Abu Simbel) แห่งฟาโรห์รามเสสที่ 2       (Ramses II) ที่สร้างขึ้นเมื่อ กว่า 1,270 ปี ก่อนคริสตกาลต้องจมอยู่ใต้บาดาลอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง
       ด้วยอียิปต์เองไม่สามารถดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดให้โบราณสถานทั้งหมดนี้รอดพ้นวิกฤตการณ์ ได้โดยลำพัง  องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก        (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization : U N E S C O ) จึงได้จัดส่งนักโบราณคดี และผู้ เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ไปยังพื้นที่ดังกล่าวโดยเร่งด่วนเพื่อศึกษาวิจัยและหาวิธีที่จะรักษาโบราณสถานทั้ง 23 แห่งไว้
        ในที่สุดรัฐภาคี ยูเนสโก 50 ประเทศจึงได้ ระดมเงินทุนและให้ ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี   เป็นงบประมาณกว่า 80 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเคลื่อนย้ายมหาวิหารอาบูซิมเบลและโบราณสถานอื่นๆ ไปประกอบใหม่ยังพื้นที่ปลอดภัย แต่ก็สามารถขนย้ายได้เพียง 14 แห่งเท่านั้น
       นับจากนั้นเป็นต้นมา หลายชาติเริ่มหันกลับมาสนใจมรดกล้ำค่าในประเทศของตน ไม่ว่าจะเป็นเมืองเวนิส (Venice) ประเทศอิตาลี ซากนครโมเฮนโจดาโร (Mohenjo Daro) ประเทศปากีสถาน รวมถึงกลุ่มวัดบุโรพุทโธ (Borobudur) ประเทศอินโดนีเซีย
         ด้านยูเนสโกก็ได้จัดตั้งสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (International Council on Monuments and Sites : ICOMOS) ให้เป็นที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการของยูเนสโกเพื่อทำงานด้านการอนุรักษ์และปกป้องคุ้มครองโบราณสถานรวมถึงร่าง อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ” (Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage) หรือเรียกสั้นๆ ว่า อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก”(World Heritage Convention) ซึ่งสมาชิกขององค์การยูเนสโก 177 ประเทศมี มติยอมรับในการประชุมใหญ่สมัยสามัญครั้งที่ 17 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1972 โดยหวังให้เป็นการสร้างหลักประกันความร่วมมือระหว่างประเทศด้วยส้านึกร่วมกันในอันที่จะสงวนรักษามรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติให้คงอยู่สืบไป

        มรดกโลก
        มรดกโลก (Word Heritaeg) หมายถึง แหล่งวัฒนธรรมและธรรมชาติที่มีคุณค่าโดดเด่นระดับสากล จนได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนให้เป็นแหล่งมรดกโลก ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ และเมื่อได้รับการยอมรับให้เป็นแหล่งมรดกโลกแล้ว ไม่ว่าจะมีที่ตั้งอยู่ในขอบเขตดินแดนของประเทศใดก็ถือได้ว่าเป็นมรดกมวลมนุษยชาติในโลก
        มรดกโลกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritaeg) และมรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritaeg)

        มรดกโลกทางวัฒนธรรม มีความหมายครอบคลุมสิ่งต่างๆ ดังนี้
        อนุสรณ์สถาน ครอบคลุมผลงานทางสถาปัยกรรม ประมากรรมหรือจิตรกรรม ส่วนประกอบหรือโครงสร้างธรรมชาติทางโบราณคดี จารึก ถ้้าที่อยู่อาศัยและการผสมผสานกันขององค์ประกอบ ซึ่งมีคุณค่าโดดเด่นระดับสากล ในมิติทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ หรือวิทยาศาสตร์
       กลุ่มของอาคาร ทั้งที่เชื่อมต่อกันหรือแยกจากกัน ซึ่งมีคุณค่าโดดเด่นระดับสากล ในมิติทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ หรือวิทยาศาสตร์ ด้วยสถาปัตยกรรม ความสอดคล้องกลมกลืน หรือสภาพภูมิทัศน์
          แหล่งที่ตั้ง ทั้งผลงานของมนุษย์ หรือผลงานร่วมระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ รวมถึงแหล่งโบราณคดี ซึ่งมีคุณค่าโดดเด่นระดับสากล ในมิติทางประวัติศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ ชาติวงศ์วิทยา หรือมานุษยวิทยา

           มรดกโลกทางธรรมชาติ มีความหมายครอบคลุมสิ่งต่างๆ ดังนี้
           สภาพธรรมชาติ อันประกอบด้วยรูปแบบทางกายภาพและชีวภาพหรือกลุ่มของสภาพธรรมชาติดังกล่าว ซึ่งมีคุณค่าโดดเด่นระดับสากลในมิติทางสุนทรีศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์
           การก่อเกิดรูปแบบทางธรณีวิทยาและธรณีสัณฐาน หรือบริเวณที่ชัดแจ้งว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสายพันธุ์สัตว์และพืชที่ก้าลังถูกคุกคามอันมีคุณค่าโดดเด่นระดับสากล ในมิติทางวิทยาศาสตร์ การอนุรักษ์
          แหล่งธรรมชาติ หรือพื้นที่ทางธรรมชาติอันมีคุณค่าโดดเด่นระดับสากลในมิติทางวิทยาศาสตร์ การอนุรักษ์ และความงดงามตามธรรมชาติ

การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
มีขั้นตอน ดังนี้
    1. รัฐบาลประเทศสมาชิกยูเนสโกจัดท้ารายชื่อสถานที่ภายใต้อธิปไตยของตนเรียกว่า บัญชี รายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ไปยังส้านักงานเลขานุการคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งมี ส้านักงานใหญ่อยู่ที่องค์การยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
     2. รัฐบาลของประเทศดังกล่าวเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากบัญชี รายชื่อเบื้องต้นเพื่อจัดท้าแฟ้มข้อมูล (Nomination File) อย่างละเอียดพร้อมทั้งแผนที่แสดงที่ตั้งเพื่อแสดงให้เห็นความส้าคัญของสถานที่นั้นในการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
    3. แฟ้มข้อมูลดังกล่าวจะได้รับการตรวจสอบจากองค์กรที่ปรึกษาโดยในส่วนของมรดกทางวัฒนธรรม คือ สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (The International Council on Monuments and Sites : ICOMOS) และศูนย์ระหว่างชาติว่าด้วยการศึกษาการอนุรักษ์ และปฏิสังขรณ์ สมบัติทางวัฒนธรรม (The International Centre for the Study of the Preservation and Restoration of the Cultural Property : ICCROM) ขณะที่ในส่วนของมรดกทางธรรมชาติ คือ สหภาพการอนุรักษ์โลก (The International Union for Conservation of Nature : IUCN)
     4. เมื่อได้ พิจารณาการประเมินคุณค่าที่องค์กรที่ปรึกษาได้น้าเสนอแล้วคณะกรรมการบริหารมรดกโลก (World Heritage Bureau) จะมีมติเป็นข้อเสนอแนะเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ4       มรดกโลก (World Heritage Committee) พิจารณาตัดสินต่อไป โดยคณะกรรมการมรดกโลกจะประชุมร่วมกันปีละ 1 ครั้งในการประชุมสมัยสามัญประจ้าปี เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่เสนอชื่อแห่งใดบ้างสมควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม
        โบราณสถานที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมจะต้องมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ ตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน (World Heritage Criteria) ดังนี้
     1. เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดท้าขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
    2. เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
    3. เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
     4. เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
     5. เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตาม กาลเวลา
    6. มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

อุปสรรคในการอนุรักษ์มรดกโลก
          การเริ่มต้นอนุรักษ์มรดกโลกที่ครบรอบ 40 ปี ใน ค.ศ. 2012 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วกระจายตัวอยู่ในกว่า 150 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมรดกโลกแต่ละแห่งยังต้องเผชิญกับปัญหาส้าคัญต่างๆ อาทิ
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นระดับน้้าทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น การเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดอยู่บ่อยครั้งล้วนส่งผลกระทบต่อการเสื่อมสลายของมรดกโลก
         การคุกคามจากฝีมือมนุษย์ ทั้งการก่อสร้างในพื้นที่มรดกโลกความคับคั่งของการจราจรในบริเวณใกล้เคียง มลภาวะทางเสียงจากการจัดการท่องเที่ยว อันส่งผลด้านลบต่อสภาพแวดล้อมของมรดกโลก
               ปัญหาด้านกฎหมาย ประเทศสมาชิกเจ้าของมรดกโลกยังมีข้อจ้ากัดในการผลักดันกฎหมายในการดูแลมรดกโลกของตนทั้งยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการมรดกโลกอย่างเหมาะสมขณะที่บางประเทศแม้จะตรากฎหมายเพื่อการอนุรักษ์ มรดกโลก แต่ก็ติดขัดในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ
        ปัญหาด้านงบประมาณ  เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดูแลสภาพมรดกโลก  ซึ่งรวมถึงปัญหาการพัฒนาบุคลากรให้เกิดความรู้พบว่าประเทศที่ปกครองแบบกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นจะสามารถดำเนินการอนุรักษ์มรดกโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากผู้เกี่ยวข้องโดยตรงสามารถร่วมตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม



อ้างอิง

มรดกโลกทางวัฒธรรมในอาเซียน. กรุงเทพฯ: บริษัท สถาพรบุ๊คส์ จ้ากัด , 2555
เอกรินทร์ พึ่งประชา. มรดกโลก มรดกแห่งมนุษย์ชาติ. กรุงเทพฯ: ปาเจรา, 2550
มรดกโลก” [ออนไลน์] http://th.wikipedia.org/wiki/
        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น