วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ว่านหางจรเข้


         "ว่านหางจรเข้"  เป็นไม้ล้มลุกใบใหญ่หนาที่ทุกคนรู้จักกันดี แม้ถิ่นกำเนิดจะอยู่ไกลถึงฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน และแอฟริกา แต่ในประเทศไทยก็มีการปลูกว่านหางจระเข้อย่างแพร่หลาย ซึ่งในตำรับยาไทยก็ใช้ว่านหางจระเข้บำบัดอาการต่าง ๆ ได้มากมาย จนเป็นที่รู้จักว่า เป็นพืชอัศจรรย์ที่มีสรรพคุณสารพัดประโยชน์

          โดย "วุ้นในใบสด" สามารถนำมาบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ แต่สรรพคุณเด่น ๆ ที่ทุกคนน่าจะรู้จักก็คือ นำมาพอกแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ แก้ปวดแสบปวดร้อน แผลเรื้อรัง รักษาผิวที่ถูกแดดเผา แผลในกระเพาะอาหาร และช่วยถอนพิษได้ เพราะว่านหางจระเข้มีสรรพคุณช่วยสมานแผล แต่มีข้อแนะนำว่า ก่อนใช้ควรทดสอบดูก่อนว่าแพ้หรือไม่ โดยเอาวุ้นทาบริเวณท้องแขนด้านใน ถ้าผิวไม่คันหรือแดงก็ใช้ได้ นอกจากส่วนวุ้นในใบสดแล้ว ส่วน "ยางในใบ" ก็สามารถนำมาทำเป็นยาระบายได้ และส่วน "เหง้า" ก็นำไปต้มน้ำรับประทาน แก้โรคหนองในได้ด้วย

หน้าใสไร้สิว ด้วยว่านหางจระเข้
           สำหรับการใช้ทาเพื่อรักษาอาการหัวสิวอักเสบ ก็จะทำให้หัวสิวแห้งเร็ว นอกจากนี้ว่านหางจระเข้ยังสามารถลดความแห้งกร้าน และลดความมันของผิวหน้าได้ หรือแม้กระทั่งคนที่มีผิวหน้าแห้ง ก็ยังช่วยคืนความชุ่มชื่นของผิวได้ด้วย โดยนำใบว่านหางจระเข้ใบแก่ที่มีวุ้นมาก นำมาแช่น้ำเพื่อล้างยางออกให้หมดจึงปอกเปลือกออก แล้วนำวุ้นที่ได้มาล้างน้ำให้สะอาดอีกครั้ง ขยำเนื้อวุ้นหรือนำไปปั่น แต่ไม่ต้องละเอียดมาก
        วิธีใช้   ล้างหน้าให้สะอาด เช็ดหน้าให้แห้ง แล้วใช้ว่านหางจระเข้ที่ปั่น พอกให้ทั่วหน้ายกเว้นรอบดวงตา ทิ้งไว้ 15-20 นาที จึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด แต่สำหรับคนผิวแห้งให้เพิ่มน้ำมันมะกอกผสมลงไปเล็กน้อย
         หมายเหตุ ไม่ควรใช้ว่านหางจระเข้กับสิวที่มีหัวเป็นหนอง เพราะเยื่อจากว่านจะไปเคลือบทำให้สิวหายช้า




ที่มา
  http://health.kapook.com/view37827.ht
  www.xn--42c8ao1akazf5c2be0gsk.net


วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประเทศอินโดนีเซีย


ประวัติศาสตร์ประเทศอินโดนีเซีย
            อินโดนีเซีย  หรือชื่อทางการคือ  สาธารณรัฐอินโดนีเซีย  (Republic  of  Indonesia)  เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก  เมืองหลวงคือกรุงจาการ์ตา  (Jakarta)  มีพื้นน้ำกว้างใหญ่กว่าผืนดินเกือบเท่าตัว  โดยมีพื้นที่ทางบก  1,904,443  ตารางกิโลเมตร พื้นที่ทางทะเล  3,166,163  ตารางกิโลเมตร  รวมทั้งหมด  5,070,606  ตารางกิโลเมตร  ประกอบไปด้วยหมู่เกาะน้อยใหญ่ประมาณ  17,500  เกาะ  และมีจำนวนประชากรประมาณ  243  ล้านคน 
                คำว่า  “อินโดนีเซีย”   มาจากคำในภาษากรีกสองคำ  คือ   “อินโดซ”  หมายถึง   อินเดียตะวันออก  และ  “นิโซส”  หมายถึง  เกาะ  จึงมีความหมายว่า  หมู่เกาะอินเดียตะวันออก
              
ดอกไม้ประจำชาติ  คือ  ดอกกล้วยไม้ราตรี  (Moon  Orchid) 

                 สัตว์ประจำชาติ คื อ  มังกรโคโมโด (Komodo  Dragon)  เป็นสัตว์เลื้อยคลานในตระกูลเดียวกับตะกวดและตัวเงินตัวทอง และจัดเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก  ตัวโตเต็มวัยมีขนาดความยาว  2-3  เมตร  น้ำหนักประมาณ  90  กิโลกรัม  มีสีเทาดำ  ลำตัวใหญ่และยาวกว่าตัวตัวเงินตัวทองทั่วไป  สันนิษฐานว่าอยู่มานานนับล้านปี  พบบนเกาะโคโมโดและอีกหลายเกาะนอกจากนี้ยังมี  ปลาตะพัด  ลิงอุรังอุตัง  เสือโคร่งสุมาตรา  แรดชวา  และอินทรีเหยี่ยวชวา  ที่ถือเป็นสัตว์ประจำชาติด้วย
ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ 
อินโดนีเซียมีรูปร่างคล้ายพระจันทร์หงายครึ่งซีก มีพื้นที่ 5,193,250 ตารางกิโลเมตร หรือใหญ่กว่าประเทศไทยประมาณ 10 เท่า เป็นพื้นดิน 2,027,087 ตารางกิโลเมตร และทะเล 3,166,163 ตารางกิโลเมตร
อินโดนีเซียประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยกว่า 17,500 เกาะ แต่มีประชากรอาศัยอยู่เพียง 3,000 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วนคือ
1) หมู่เกาะซุนดาใหญ่ (Great Sunda Islands) ประกอบด้วย เกาะชวา สุมาตรา กะลิมันตัน และสุลาเวสี 
2) หมู่เกาะซุนดาน้อย (Lesser Sunda Islands) ประกอบด้วยเกาะเล็กๆ ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ล็อมบอก ซุมบาวา ฟอลเรส และติมอร์
3) หมู่เกาะมาลุกุ (Maluku Islands) หรือหมู่เกาะเครื่องเทศ อยู่ระหว่างสุลาเวสีกับเกาะปาปัว
4) ปาปัว (Papua) อยู่บนเกาะนิวกินีทางตะวันตกของประเทศปาปัวนิวกินี ในบรรดาหมู่เกาะทั้งหมด มีเกาะขนาดใหญ่ 5 เกาะ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 90 ของประเทศ
เมืองใหญ่สำคัญของอินโดนีเซีย ได้แก่
- จาการ์ตา (Jakarta) หรือในอดีตชื่อ ปัตตาเวีย” (Batavia) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะชวา มีพื้นที่ 650 ตารางกิโลเมตร ประชากร 10 ล้านคน เป็นศูนย์กลางทั้งด้านการปกครองและเศรษฐกิจของประเทศ มีสนามบินนานาชาติคือ Soekarno Hatta International Airport มีท่าเรือใหญ่ที่สุดของประเทศ คือ Tanjung Priok
- สุราบายา (Surabaya) เป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ อยู่บนเกาะชวา ประชากรประมาณ 2.5 ล้านคน ทรัพยากรธรรมชาติสำคัญคือ หินชอล์ก ทำให้จังหวัดนี้มีชื่อเสียงด้านอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ อีกทั้งยังมีหินอ่อน น้ำมัน และเกลือ มีสนามบินนานาชาติคือ Juanda Airport และท่าเรือ Tanjung Perak
- ยอกยาการ์ตา (Yogyakarta) อยู่บนเกาะชวา เป็นศูนย์กลางทั้งด้านศิลปะ และวัฒนธรรม นอกจากนั้นยอกยาการ์ตา ยังเป็นที่ตั้งของบุโรพุทโธ (Borobudur) พุทธสถานที่มีชื่อเสียงและสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้ รวมถึงหมู่วิหารโบราณฮินดู คือ ปรามบานัน (Pram-banan) สนามบินหลักคือ Adi Sucipto Airport
- เมดาน (Medan) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของเกาะสุมาตรา มีประชากร 2.1 ล้านคน เมดานเป็นแหล่งเพาะปลูกใหญ่ที่สุด ของอินโดนีเซีย ทั้งปาล์มน้ำมัน ชา โกโก้ ยางพารา และยาสูบ นอกจากนั้น ยังมีแร่ธาตุสำคัญ อาทิ น้ำมัน และก๊าซ มีสนามบินนานาชาติ คือ Polonia Airport และท่าเรือ Belawan Port
- เรียว (Riau) อยู่บนเกาะสุมาตรา มีพื้นที่ 95 พันตารางกิโลเมตรประชากร 5.4 ล้านคน พืชเศรษฐกิจสำคัญคือ มะพร้าว ยางพารา ชา และโกโก้ นอกจากนี้ ยังมีไม้มีค่าต่างๆ และน้ำมันปิโตรเลียม โดยสินค้าส่งออกสำคัญคือ น้ำมันปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์ไม้ สนามบินสำคัญคือ Sultan Syarif Kasim II Airport ท่าเรือคือ Batu Ampar Port
- แจมบี (Jambi) อยู่บนเกาะสุมาตรา มีพื้นที่ 44.8 พันตารางกิโลเมตร ประชากร 2.5 ล้านคน พืชเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ มะพร้าว โกโก้ และชา นอกจากนั้นยังมีแร่ธาตุอื่นๆ อาทิ น้ำมันปิโตรเลียม ถ่านหิน ทองแดง สินค้าส่งออกสำคัญคือ ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์จากป่า สนามบินหลัก คือ Sultan Thaha Airport
- ปาเลมบัง (Palembang) อยู่บริเวณสุมาตราใต้ พืชเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ยาง กาแฟ พริกไทย ชา สินค้าส่งออกสำคัญคือ ยาง กาแฟ สนามบินหลัก คือ Sultan Baharudin II Airport ท่าเรือคือ Boom Baru Port
- เดนปาซาร์ (Denpasar) เป็นเมืองหลวงของเกาะบาหลี (Bali) อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวมีชื่อเสียงด้านความงดงามของธรรมชาติและชายหาดที่สวยงาม สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ปีละกว่า 1 ล้านคน สนามบินนานาชาติ คือ Gusti Ngurah Rai International Airport
ภูมิอากาศ อินโดนีเซียเป็นหมู่เกาะ ภูมิอากาศจึงมีลักษณะผสมผสานและเปลี่ยนแปลงไปตามภูมิประเทศ โดยทั่วไปมีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร แบ่งเป็น 2 ฤดู คือ
     1. ฤดูแล้ง ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม
     2. ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน



ที่มา

ปัทมาพร  คำโท.  เราคืออาเซียน  อินโดนีเซีย.  กรุงเทพฯ  : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง,2555.  

“สัตว์ประจำชาติ”.[ออนไลน์] http://picpost.postjung.com/156613.html#pic9

“ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ” .[ออนไลน์] http://www.boi.go.th/thai/asean/Indonesia/capt1_n.html