ประวัติและบริบทหมู่บ้านโพนเพ็ก
หมู่ที่ 9 ตำบลโพนยาง
อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ
บ้านโพนเพ็กเริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2480
โดยได้ย้ายถิ่นฐานมาจากบ้านหนองแคน
โดยในขณะนั้นมีประชากรย้ายมาตั้งบ้านเรือนอยู่ประมาณ 5 หลังคาเรือน
สาเหตุที่ย้ายมาจากบ้านหนองแคนคือในขณะนั้นมีโรคระบาดเกิดขึ้นในชุมชน จึงทำให้พ่อใหญ่พูล สมบัน ชวนเพื่อนๆและญาติๆที่อยู่ใกล้เคียงย้ายบ้านเรือนมาตั้งที่โนนเพ็ก สาเหตุที่เรียกว่า “บ้านโพนเพ็ก”
เพราะคำว่า “โพน”เป็นภาษาถิ่นพื้นบ้านอิสานจะมีลักษณะเป็นเนินสูงน้ำท่วมไม่ถึง และคำว่า “เพ็ก”
ก็คือต้นไม้ชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายกับต้นไผ่แต่เป็นต้นไผ่ป่า ชาวบ้านในแถบนั้นเรียกว่า “ต้นเพ็ก
ดังนั้นคำว่า “โพนเพ็ก” จึงมาจากการตั้งบ้านเรือนในเนินที่มีต้นเพ็กใหญ่
บ้านโพนเพ็ก แต่ก่อนขึ้นตรงกับตำบล บุสูง
กิ่งอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ
โดยในสมัยนั้นยังไม่มีการแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านเพราะในสมัยนั้นมีผู้ใหญ่บ้านแค่บ้านเดียวคือผู้ใหญ่บ้านโพนยาง และใช้ผู้นำคนเดียวร่วมกัน 5 หมู่บ้าน
อันได้แก่ บ้านโพนยาง บ้านหนองแคน
บ้านทุ่งน้อย บ้านป่าชาติ และบ้านโพนเพ็ก ต่อมาบ้านโพนเพ็กก็ได้ขึ้นตรงการปกครองที่ ตำบลศรีสำราญ
กิ่งอำเภอวังหิน
จังหวัดศรีสะเกษ
และในขณะนั้นผู้นำในการปกครองอยู่ที่หมู่บ้านป่าชาติ และได้ปกครองทั้งสิ้น 4 หมู่บ้าน อันได้แก่ บ้านป่าชาติ
บ้านหนองแคน บ้านทุ่งน้อย และบ้านโพนเพ็ก
ต่อมาจำนวนประชากรและครัวเรือนในหมู่บ้านก็เพิ่มขึ้นเรื่อย จนถึงประมาณ
30 หลังคาเรือน
และกฎหมายตอนนั้นได้ประกาศว่าหมู่บ้านใดมีจำนวนครัวเรือนในหมู่บ้าน 30 ครัวเรือนขึ้นไปสามารถเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านได้ บ้านโพนเพ็กก็เป็นหนึ่งในขณะนั้นที่ได้เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านและผู้ใหญ่บ้านคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้านโพนเพ็กคือ พ่อใหญ่แก่น สารโท
ทำเนียบผู้นำชุมชนหรือผู้ใหญ่บ้าน
1. นายแก่น สารโท
2. นายขันติ สมจันทร์
3. นายบุญเหลือ หมื่นสอน
4. นายผงสุรีย์ จันทบุตร
5. นายลำดวน เทินสะเกษ ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน
บ้านโพนเพ็กมีประชากรทั้งสิ้น 387
เป็นชาย 204 คน
เป็นหญิง 183 คน
จำนวนครัวเรือน 67 หลังคาเรือน
อาชีพหลัก ทำนา
อาชีพเสริม ทำสวนยาง,ปลูกมันสำประหลัง,ปลูกพริก,ปลูกหอม,
ทำหอยเชอรีขาย
ประชากรในหมู่บ้านโพนเพ็กทั้งสิ้น นับถือศาสนาพุทธ
โดยมีวัดป่าแดงเป็นศูนย์รวมจิตใจในการประกอบพิธีสำคัญๆทางศาสนา
เชื้อชาติพันธุ์ของคนในชุมชนส่วนใหญ่ เป็นเชื้อชาติไทย ชนเผ่าลาว
มีส่วยและเขมรบางส่วนเนื่องมาจากจารอพยพย้ายถิ่นฐานและแต่งงานข้ามระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์
ประเพณีที่สำคัญๆที่คนในชุมชนสืบทอดต่อกันมา ดังนี้
1. ประเพณีทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่
2. ประเพณีตามปฏิทินทางพุทธศาสนาที่ถูกกำหนดไว้
3. ประเพณีวันสงกรานต์ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ
4. ประเพณีบุญบั้งไฟ (เลี้ยงปู่ตา)
5. บุญข้าวจี่
6. บุญข้าวประดับดิน
7. บุญข้าวสารท
8. กฐิน,
ผ้าป่า เป็นต้น
บ้านโพนเพ็กมีลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนาทำสวนและทำไร่เป็นอย่างยิ่งโดยมีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับ
หมู่บ้านทุ่งน้อย
ทิศใต้ ติดกับ
หมู่บ้านหนองทุ่ม
ทิศตะวันออก
ติดกับ พื้นที่ตำบลวังหิน
ทิศตะวันตก ติดกับ
ทางหลวงหมายเลข 220 และบ้านหนองแคน
เครื่องมือที่ใช้ในการสัมภาษณ์คือ
แบบสัมภาษณ์
ข้อมูลทั่วไป หมู่บ้านโพนเพ็ก ตำบลโพนยาง อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ
1. แบบสัมภาษณ์ชุดนี้เป็นแบบสัมภาษณ์
สำหรับกลุ่มผู้รู้ที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและบริบทของหมู่บ้าน
2. แบบสัมภาษณ์ชุดนี้มี
2
ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1
ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ให้สัมภาษณ์
ส่วนที่ 2 ประเด็นที่สัมภาษณ์
ส่วนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ให้สัมภาษณ์
ชื่อ................................................................นามสกุล......................................................................
อายุ...........................................จบการศึกษา..................................................................................
ภูมิลำเนาเดิม....................................................................................................................................
ภูมิลำเนาปัจจุบัน..............................................................................................................................
อาชีพ....................................................เบอร์ติดต่อ..........................................................................
ส่วนที่ 2 ประเด็นที่สัมภาษณ์
1. ประวัติความเป็นมาของบ้านโพนเพ็ก
2. สภาพภูมิประเทศทั่วไป
ที่ตั้ง / อาณาเขต / ลักษณะพื้นที่ของหมู่บ้านโพนเพ็ก
3. สภาพการคมนาคม
(ถนนในชุมชน / การเดินทางในชุมชน)
4. สภาพการนับถือศาสนา
ประเพณี วัฒนธรรม
5. สภาพประชากรในชุมชน
(จำนวนครัวเรือน)
6. เศรษฐกิจ
ชุมชน อาชีพ
ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน
1. เนื่องจากไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติหมู่บ้าน ทำให้ยากต่อการรวบรวมข้อมูลใหม่
2. ผู้ที่ตอบแบบสัมภาษณ์อายุมากจนไม่สามารถอ่านหนังสือได้
ต้องให้ผู้สัมภาษณ์อ่านคำถามทีละข้อ
3. ใช้ภาษาท้องถิ่นในการสัมภาษณ์
4. เนื่องจากช่วงนี้เป็นฤดูฝนจึงยากต่อการเดินทางไปสัมภาษณ์เพราะบ้านผู้ให้สัมภาษณ์ตั้งอยู่ห่างไกล
5. เนื่องจากต้องใช้เครื่องบันทึกเสียงในการบันทึกข้อมูลในการสัมภาษณ์เพราะผู้สัมภาษณ์จดบันทึกข้อมูลไม่ทันและอาจไม่ได้ครบ ดังนั้นจึงบันทึกเสียงและนำมาแปรข้อมูล