เมืองพระนคร คือ
หลักฐานชิ้นส้าคัญที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่และรุ่งเรืองของอาณาจักรขอมในอดีต
ทั้งยังสะท้อนภูมิปัญญาอันชาญฉลาดทางสถาปัตยกรรมและประติมากรรมของบรรพชนขอมโบราณ
จนได้รับการยกย่องให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์โลกยุคใหม่
ประวัติความเป็นมา
ประวัติศาสตร์ของหมู่ปราสาทเมืองพระนครได้เริ่มต้นขึ้นหลังพระเจ้าชัยวรมันที่
2 (ครองราชย์ ค.ศ. 802-835) ประกาศแยกแผ่นดินเป็นอิสระจากชวา
และพระเจ้าชัยวรมันที่ 3ครองราชย์ ค.ศ.835-877) ผู้สืบบัลลังก์ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างราชธานีขึ้นที่หริหราลัย(Hariharalaya) ตอนเหนือของโตนเลสาป(Tonle sap)
เมื่อพระเจ้าอิทรวรมันที่ 1
(ครองราชย์ ค.ศ.877-889) ได้ขึ้นครองราชย์ ก็ทรงกระท้าตรีกรณียกิจส้าคัญ ไก้แก่
สร้างบาราย (Baray) ขนาดใหญ่ที่เมืองหริหราลัย
สร้างเทวรูปสลักเป็นตัวแทนพระญาติประดิษฐานไว้ในปราสาทพระโค (Preah Ko) และสร้างปราสาทบากอง (Bakong) ขึ้นบนยอดเขา
หลังจากนั้น พระเจ้ายโศวรมันที่ 1
(ครองราชย์ ค.ศ.889-910) ผู้เป็นพระราชโอรสก็ได้มีพระราชด้าริให้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ยโสธรปุระ
(Yasodharapura) หรือที่เรียกกันภายหลังว่า “เมืองพระนคร” ถือเป็นเป็นยุคที่มีการสร้างปราสาทร้อยแห่ง
ปราสาทที่ส้าคัญ คือ ปราสาทพนมบางเค็ง (Phnom Bakheng)
ครั้นพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 สิ้นพระชนม์กษัตริย์พระองค์ต่อๆมาได้สร้างนครแห่งใหม่ขึ้นที่เกาะแกร์
(Koh Ker) ก่อนที่พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 (ครองราชย์
ค.ศ.944-968) จะกลับมาบูรณะยโศธรปุระให้งดงามดังเดิม จนเมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 5
(ครองราชย์ ค.ศ.968-1001) เป็นผู้พระราชโอรสขึ้นครองบัลลังก์ พราหมณ์ยัชญวราหะก็ได้สร้างปราสาทบันทายสรี
(Banteay sri)ขึ้นมา 8
ในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่
1 (ครองราชย์
ค.ศ.1010-1050)ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างปราสาทพระวิหารและปราสาทพิมายอากาศ (Phimeanakas) ก่อนที่พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2
(ครองราชย์ ค.ศ.1050-1066) จะสร้างปราสาททบาปวน (Ba Puon) ในเวลาต่อมา
เมื่อถึงรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (ครองราชย์ ค.ศ.1113-ราว ค.ศ.1150)
นครวัดอันยิ่งใหญ่ก็ถือก้าเนิดขึ้นภายหลังเมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ขึ้นครองราชย์
( ค.ศ.1181-1218)โปรดเกล้าฯให้ย้ายเมืองหลวงไปยังนครธมและสร้างปราสาทบายน
รวมถึงปราตาพรหม (Ta Prohm)และปราสาทพระขรรค์(Preah
Khan)ขึ้น
เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก
เมืองพระนครได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี
พ.ศ. 2535 ซึ่งตั้งแต่ปีที่ลงทะเบียนเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2547
เมืองพระนครได้ถูกจัดให้เป็นแหล่งมรดกโลกที่ตกอยู่ในภาวะอันตราย
เมืองพระนครได้ถูกรับเลือกเป็นมรดกโลกเมื่อปี
พ.ศ. 2535 โดยมีเหตุผลดังนี้
1.
เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดท้าขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
2. เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง
ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน
ประติมากรรม สวนและภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง
หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
หรือบนพื้นที่ใดๆของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
3.
เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
4.
เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา
ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม
ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
ปราสาทนครวัด
นครวัด เป็นศาสนสถานตั้งอยู่ในเมืองพระนคร
จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยเป็นศาสนสถานประจ้าพระนครของพระองค์
ตัวเทวสถานได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี จนเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่ส้าคัญเพียงแห่งเดียวที่ยังเหลือรอดมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จแต่เดิมนครวัดเป็นเทว
สถานของศาสนาฮินดู ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระวิษณุ
ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นศาสนาพุทธ
นครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ตัวเทวสถานถือเป็นที่สุดของสถาปัตยกรรมเขมรสมัยคลาสสิกรุ่งเรือง
และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา โดยปรากฏในธงชาติ
และเป็นจุดท่องเที่ยวหลักของประเทศ ตลอดจนได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ
เมืองพระนคร
ปราสาทนครวัด
ได้เริ่มสร้างในกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
เพื่อบูชาแด่พระวิษณุหรือ พระนารายณ์ ในปี พ.ศ. 1720 ชาวจามได้บุกรุกขอม
ท้าให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ต้องย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองนครหลวง หรือ เสียมราฐ
ในปัจจุบัน หลังจากนั้นพระองค์จึงสร้างเมืองนครธม และ ปราสาทบายน
ห่างจากปราสาทนครวัดไปทางเหนือ เพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของชาวขอม
ในปี ค.ศ. 1586 (พ.ศ. 2129)
ได้มีนักบวชจากโปรตุเกส นามว่า อันโตนิโอ ดา มักดาเลนา
เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้ไปเยือนปราสาทนครวัด
แต่ที่จะถือว่าเป็นการเปิดประตูให้แก่ปราสาทนครวัดสู่สายตาชาวโลกนั้น
คือการค้นพบของ อองรี มูโอต์ นักสะสมแมลงและนักส้ารวจชาวฝรั่งเศส
เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วมา
ที่จริงชาวกัมพูชาไม่เคยละทิ้งนครวัดไปเพราะหลังจากมีการย้ายเมืองหลวงมา
อยู่ที่พนมเปญแล้ว ชาวบ้านก็ได้เขาไปตั้งรกรากภายในเขตนครวัดเรื่อยมา
ปราสาทนครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างในยุคสิ้นสุดของราชอาณาจักรขะแมร์
โดยมีหินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก
ปราสาทนครวัดมีขนาดใหญ่มากถึง 200,000 ตารางเมตร ตัวปราสาทสูง 60 เมตร ยาว 100 เมตร และกว้าง 80 เมตร มีแผนผังที่ถือว่าเป็นวิวัฒนาการขั้นสุดยอดของปราสาทขอม มีปราสาท
5 หลังตั้งอยู่บนฐานสูงตามคติของศูนย์กลางจักรวาล มีกำแพงด้านนอกยาวด้านละ
1.5 กิโลเมตร มีคูน้้าล้อมรอบตามแบบ มหาสมุทรบนสวรรค์ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ
ใช้หินรวม 600,000 ลูกบาศก์เมตร ใช้แรงงานช้างกว่า
40,000 เชือก และแรงงานเกนคนนับแสนขนหินและชักลากหินมาจากเขาพนมกุเลน
ชึ่งอยู่ห่างออกไปกว่า 50 กิโลเมตร มาสร้าง ปราสาทนครวัด มีเสา
1,800 ต้น หนักต้นละกว่า 10 ตัน ใช้เวลาสร้างร่วม
100 ปี ใช้ช่างแกะสลัก 5,000 คน และใช้เวลาถึง
40 ปี หอสูง 60 กว่าเมตรศูนย์กลางของกลุ่มปราสาท อันเปรียบเสมือนศูนย์กลางของจักรวาลนั้น มีทางเดินขึ้นที่ชันมาก
ราว 50 องศา แต่ก็กลับเป็นจุดสำคัญที่นักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัยจะต้องปีนขึ้นไปและไต่ลง
มา ที่จุดบนสุดของหอนี้จะมองเห็นวิวที่สวยสุดของปราสาทนครวัด
ทางด้านกำแพงชั้นนอกรอบปราสาทนั้น มีความยาวกว่า 800 เมตร มีงานแกะสลักเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระเจ้าสุริยวรมันที่
2 และเรื่องราวจากวรรณคดีเรื่อง รามายณะ รูปแกะสลักที่มีชื่อที่สุดก็คือรูปที่เทวดากับอสูรกวนเกษียรสมุทรด้วยเขาพระ
สุเมรุ และยังมีรูปแกะสลักนางอัปสรอีกถึง 1,635 นาง ที่ทั้งหมดแต่งกายและทรงผมไม่ซ้้ากันเลย
นครธม
นครธม เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายและเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรขะแมร์
สถาปนาขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของ นครวัด
ภายในเมืองมีสิ่งก่อสร้างมากมายนับแต่สมัยแรกๆ และที่สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
และรัชทายาท ใจกลางพระนครเป็นปราสาทหลักของพระเจ้าชัยวรมัน เรียกว่า ปราสาทบายน
และมีพื้นที่ส้าคัญอื่นๆ รายล้อมพื้นที่ชัยภูมิถัดไปทางเหนือ
จุดเด่นที่สุดคือทางเข้าด้านใต้
ที่มีลักษณะเป็นหน้า 4 หน้า ก่อนจะเข้าสู่บริเวณนี้ จะเป็นแถวของยักษ์ (อสูร)
ทางด้านขวา และเทวดาทางด้านซ้าย เรียงรายแบกพญานาคอยู่สองข้างสะพาน
เมื่อเข้าสู่ใจกลางนครธมจะพบสิ่งก่อสร้างต่างๆ
บริเวณประตูด้านใต้นี้ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูไว้ได้ดีกว่าบริเวณอื่นๆ อีก 3 ด้าน
ปราสาทบายน
ปราสาทบายน เป็นปราสาทหินของอาณาจักรเขมร อยู่ในบริเวณของใจกลางนครธม สร้างขึ้นเป็นวัดประจ้าสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก่อสร้างในราวปี พ.ศ.
1724-พ.ศ. 1763 หลังจากที่พระเจ้าชัยวรมันที่
7ทรงได้ชัยชนะจากการขับไล่กองทัพอาณาจักรจามปา นับเป็นศาสนสถานที่ ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
มีความซับซ้อนทั้งในแง่โครงสร้างและความหมาย เนื่องจากผ่านความเปลี่ยนแปลงด้านศาสนาและความเชื่อมาตั้งแต่คราวนับถือเทพเจ้าฮินดู
และพุทธศาสนา อาคารมีลักษณะพิเศษ เนื่องจากส่วนของหอเป็นรูปหน้าหันสี่ทิศ จ้านวน
49 หอ ปัจจุบันคงเหลือเพียง 37 หอ ลักษณะโดยทั่วไปจะมี
4 หน้า 4 ทิศ แต่บางหออาจมี 3 หรือ 2 แต่บริเวณศูนย์กลางของกลุ่มอาคาร จะมีประมาณ
200 กว่าหน้า
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของ บายน ก็เช่นเดียวกับเรื่องความเชื่อ
เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงมาในหลาย ๆ สมัย กษัตริย์ในยุคหลัง ๆ พบว่าเป็นการง่ายกว่าที่จะปรับปรุงวัดแห่งนี้
แทนที่จะรื้อสร้างใหม่เช่นที่ท้ากัน และใช้เป็นวัดประจ้าสมัยต่อเนื่องกันมา
รอบปราสาทบายนที่เสียมเรียบจะ ปรากฏภาพโดยเฉพาะภาพแกะสลักอายุนับพันปีเหล่านั้น
รอบปราสาทบายนจะเห็นภาพของการประดั่ญ เรียกเป็นภาษาไทยว่าภาพการต่อสู้ อยู่บนก้าแพงปราสาทบายนมวย
มีมานานตั้งแต่สมัยขอมเรืองอ้านาจค้าว่ามวยเอง เป็น ภาษาขะแมร์ แปลว่าหนึ่ง ทั้งหมดนี้ไทยรับค้ามาจากขะแมร์เพราะอิทธิพลความรุ่งเรืองของขะแมร์ที่รับมา
จากขอม มาจากค้าว่า "เนี๊ยะประดั่ญเลขมูย"
อันมีความหมายว่านักสู้อันดับหนึ่ง และเรียกกันสั้น ๆ ว่า"เนี๊ยะมูย" และคนไทยน้ามาเรียกสั้น ๆ ว่า
"นักมวย"
ปราสาทบาปวน
ปราสาทบาปวน สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของปราสาทบายนภายในนครธม เป็นปราสาททรงพีระมิดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
ปรางค์ประธานมียอดเรียวแหลมคล้ายปราสาทพนมรุ้ง ซึ่งเชื่อกันว่าท้าจากส้าริด แต่ปัจจุบันพังทลายลงหมดแล้ว
ปราสาทบาปวนมีระเบียงคด 3 ชั้น ที่เชื่อมต่อกันตลอด มีโคปุระขนาดใหญ่สุดอยู่ทางด้านทิศตะวันออก
ซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์ทองค้า สัญลักษณ์แห่งพระศิวะ ทว่าได้สูญหายไปนานแล้ว
นอกจากนี้ภายในปราสาทยังปรากฏภาพสลักแนวดิ่งอันเป็นเอกลักษณ์ศิลปะแบบบาปวน
ปราสาทบันทายศรี
ปราสาทบันทายศรี เป็นปราสาทหินที่ถือได้ว่างดงามที่สุดในประเทศกัมพูชา
มีความกลมกลืนอย่างสมบูรณ์ และเป็นปราสาทแห่งเดียวที่สร้างเสร็จแล้วกว่า 1000 ปี แต่ลวดลายก็ยังมีความคมชัด เหมือนกับสร้างเสร็จใหม่
ๆ
ปราสาทบันทายศรีหรือเรียกตามสำเนียงเขมรว่า “บันเตียไสร”
หมายถึง ปราสาทสตรีหรือป้อมสตรี อยู่ห่างจากตัวเมืองเสียมเรียบไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 30 กิโลเมตร ใกล้กับแม่น้ำเสียมเรียบในบริเวณที่เรียกว่า
อิศวรปุระ หรือเมืองของพระอิศวร
ปราสาทแห่งนี้สร้างอุทิศถวายพระอิศวรภายใต้พระนามว่า "ตรีภูวนมเหศวร" หรือ
"ผู้เป็นใหญ่แห่งโลกทั้งสาม" ปราสาทมีขนาดเล็ก
สร้างด้วยหินทรายสีชมพูซึ่งหายาก สร้างขึ้นเมื่อเดือนเมษายน - พฤษภาคม พ.ศ. 1510 โดยพราหมณ์ยัชญวราหะ
ในตอนปลายของสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 (หรือพระเจ้า ชัยวรมันที่
4 พ.ศ. 1487 - 1511) และเสร็จในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่
5 (พ.ศ. 1511-1554)
1. ซุ้มประตูทางเข้า จ้าหลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณลวดลายมีความละเอียดสวยงามมาก
2. ซุ้มทางซ้ายมือ จ้าหลักภาพพระอิศวรทรงโค
มีพระอุมาเทวีประทับด้านซ้าย
3. ซุ้มทางขวามือ มีรูปพระนารายณ์อวตารเป็นนรสิงห์
16
ผ่านประตูเข้าไปจะเห็นปราสาทองค์แรก สร้างอยู่เหนือฐานเดียวกันซึ่งสูง 90 เซนติเมตร ขนาบด้วยบรรณาลัย ซึ่งเป็นที่เก็บรักษาตำราหรือวัตถุที่ใช้ในพิธีเคารพบูชา
มีประตูเข้าทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ซุ้มประตูหรือโคปุระนี้ ประดิษฐานปฏิมากรรมด้วยลวดลายที่งามวิจิตรอ่อนช้อย
ลวดลายประดับที่ปราสาทบันทายศรี สลักเสลาอย่างวิจิตรบรรจง ไม่ว่าจะเป็นเทพธิดาหรือนางอัปสรา
ก็เต็มไปด้วยความสง่างามและมีชีวิตจิตใจ
ในกรอบซุ้มปราสาทองค์แรก มีรูปพระศิวะกำลังร่ายร้า
หรือที่เรียกว่า ศิวนาฏราช ท่าร้าของพระองค์มีถึง 108
ท่า แต่ละท่ามีผลต่อฟ้าดิน หน้าบันของห้องสมุดทางด้านทิศใต้ สลักภาพพระอิศวรกำลังประทับนั่งอยู่เหนือเขาไกรลาศ
ที่หน้าบันห้องสมุดทางด้านทิศเหนือ แสดงภาพพระอินทร์กำลัง
บันดาลให้ฝนตกลงมา บนอาคารเดียวกันนี้ เหนือหน้าบันทางทิศตะวันตกแสดงภาพพระกฤษณะก้าลังประหารพระยากงศ์ในพระราชวัง
ภาพสลัก ณ ปราสาทบันทายศรี นอกจากความงดงามในฝีมือการสลักแล้ว ยังมีคุณค่าเกี่ยวกับมนุษย์อย่างลึกซึ้ง
อันเห็นได้จากความรู้สึกที่แสดงออกมาจากภาพเหล่านั้น ซึ่งเป็นพยานหลักฐานชิ้นแรก ที่ท้าให้เราทราบเกี่ยวกับชีวิตของชาวขอมในต้นพุทธศตวรรษที่ 16
กลุ่มปราสาทร่อลวย (Rolous)
สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 นับเป็นกลุ่มปราสาทที่เก่าแก่ที่สุดของอาณาจักรขอม ใช้วัสดุจ้าพวกอิฐและหินทรายเรียงต่อกันกันเป็นแถว
จุดเด่นอยู่ที่ทับหลังซึ่งจ้าหลักเป็นลวดลายงดงามอ่อนช้อยโดยเฉพาะลายเครือเถา ซึ่งเป็นทักษะที่พัฒนามาจากงานแกะสลักไม้
กลุ่มปราสาทร่อลวย ประกอบด้วย
ปราสาทพระโค
ปราสาทพระโค เป็นปรางค์ปราสาทจ้านวน 6 องค์ แถวหน้า 3 องค์ และแถวหลัง
3 องค์ ตัวปราสาทท้าจากอิฐ ส่วนกรอบประตูหน้าต่างท้าจากหินทราย สร้างบนฐานที่ท้าจากหินทราย
เช่นเดียวกัน แต่ละปรางค์เป็นตัวแทนพระญาติของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1
ตัวปราสาทประดับทับหลังศิลาทรายซึ่งมีกลิ่นอายศิลปะชวา
ด้วยการแกะสลักนูนสูงเป็นรูปหน้ากาฬคาบพวงมาลัย รูปยักษ์ทวารบาล เทวดา และนางอัปสราในซุ้มเรือนแก้ว
เชิงบันไดด้านนอกมีรูปสลักสิงห์คู่ ด้านหน้าเทวลัยมีรูปสลักโคนนทิ พาหนะของพระศิวะที่ท้าจากหินทราย
นับเป็นสิ่งที่โดดเด่นที่สุดของปราสาทแห่งนี้ 18
ปราสาทบากอง
ปราสาทบากอง สร้างขึ้นภายหลังปราสาทพระโค
ถือเป็นปราสาทต้นแบบที่สร้างเป็นพีระมิด 5 ชั้น แต่ละชั้นสร้างขึ้นจากหินทราย ยกเว้นปรางค์ประธานชั้นบนสุดที่ยังสร้างด้วยอิฐซึ่งต่อมาได้รับการซ่อมแซมด้วยศิลปะแบบบาปวนจึงมีรูปแบบแตกต่างจากฐานล่าง
ปราสาทแห่งนี้มีโคปุระทิศตะวันตกและตะวันออกใหญ่กว่าทิศเหนือและทิศใต้
ทางเข้าปราสาททั้งสองข้างมีประติมากรรมลอยตัวรูปนาคขนาดใหญ่ ด้านข้างบันไดสู่ปรางค์ประธานมีภาพจ้าหลักนางอัปสราและยักษ์
หน้าบันและทับหลังของปรางค์ประธานเป็นภาพสลักจากเรื่อง รามายณะ 19
ปราสาทโลเลย
ปราสาทโลเลย ประกอบด้วยปราสาท 4 หลัง เรียงซ้อนกันเป็น 2 แถว เหมือนปราสาทพระโคโดยปราสาทด้านทิศตะวันออกมีขนาดใหญ่ที่สุดสร้างขึ้นโดยใช้อิฐ
ปัจจุบันทรุดโทรมเกือบทั้งหมด แต่ก็ยังมองเห็นร่องรอยของรูปสลักตามกรอบประตูและทับหลัง
อาทิ รูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ฤๅษีบ้าเพ็ญตบะ สิงห์คาบพวงอุบะ ภาพลายก้านต่อดอกและพรรณพฤกษา
ทำไมชื่อปราสาทหรือชื่อศิลปะของขอมโบราณมักมีคาว่า “บา” นาหน้า
ชื่อปราสาทในประเทศกัมพูชามักขึ้นต้นด้วยค้าว่า “ บา” เช่น บากอง บายน บาปวน ฯลฯ
ทั้งนี้ บา มีความหมายว่า ศักดิ์สิทธ์ ใช้กับคนก็ได้ อย่างค้าว่า ครูบาอาจารย์ หรือบาธรรมราช
20
ที่มา
- อุดม เชยกีวงศ์. วัฒนธรรมขอม กับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา. กรุงเทพฯ :ภูมิปัญญา,2552.
- ราชอาณาจักรกัมพูชา.กรุงเทพฯ: บริษัท สถาพรบุ๊คส์ จ้ากัด
, 2555
- มรดกโลกทางวัฒธรรมในอาเซียน. กรุงเทพฯ: บริษัท สถาพรบุ๊คส์ จ้ากัด
, 2555
- เอกรินทร์ พึ่งประชา. มรดกโลก มรดกแห่งมนุษย์ชาติ. กรุงเทพฯ:
ปาเจรา, 2550
- ตานานนครวัด. กรุงเทพมหานคร : ส้านักพิมพ์ไม้งาม
, 2525
- “มรดกโลก” [ออนไลน์] http://th.wikipedia.org/wiki/
- “มรดกโลกในอาเซี่ยน”
[ออนไลน์] http://www.satapornbooks.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น