ชื่อพิพิธภัณฑ์ : พระธาตุเรืองรอง (พิพิธภัณฑ์สี่เผ่าไทย)
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดสร้างเรือง ตำบลหญ้าปล้อง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ห่างจากตัวเมืองศรีสะเกษไปทางทิศเหนือ ประมาณ 5 กิโลเมตร
ประวัติความเป็นมา :
พระธาตุเรืองรอง (พิพิธภัณฑ์สี่เผ่าไทย) ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดสร้างเรือง ตำบลหญ้าปล้องอำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
ในปี พ.ศ.2511 หลวงปู่ธัมมา พิทักษา ผู้ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่บ้านสร้างเรือง และขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดอมรทายิการาม (วัดใหม่ยายมอญ) เขตบางกอกน้อย กรุงเทพ ฯ ได้กลับมายังเป็นผู้นำในการบุกเบิกป่าช้าเก่าของบ้านสร้างเรืองซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 1 ไร่เศษสร้างเป็นวัดประจำหมู่บ้าน ในขณะเดียวกันก็มีการขยายพื้นที่ทั้งการขอรับบริจาคและซื้อที่ดินใกล้เคียงเพิ่มเติมจนมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 6 ไร่เศษ และได้มีการพัฒนาวัดบ้านสร้างเรืองอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ (ได้รับพระราชทานวิสุงคามวาสี) เมื่อปี พ.ศ.2520 ภายหลังจากการก่อสร้างวัดแล้วเสร็จหลวงปู่ธัมมา พิทักษาก็ได้มีแนวคิดว่าจะสร้างพระธาตุให้เป็นสถานที่ให้ชาวบ้านได้สักการบูชา โดยเห็นว่าชาวพุทธในเขตอีสานใต้ส่วนใหญ่ มีฐานะค่อนข้างยากจน ปูชนียสถานทางพุทธศาสนาแต่ละแห่งก็อยู่ห่างไกล เช่น พระธาตุพนม (ประมาณ 400 กิโลเมตร) ประปฐมเจดีย์ (ประมาณ 600 กิโลเมตร) พระพุทธบาทสระบุรี (ประมาณ 500 กิโลเมตร) พระธาตุดอยสุเทพ (ประมาณ 1,000 กิโลเมตร)โอกาสที่จะไปสักการบูชาปูชนียสถานก็เป็นไปได้ยาก บางคนเกิดมาชั่วอายุก็ไม่มีโอกาสสักครั้งในชีวิต ดังนั้น หลวงปู่ธัมมา พิทักษา จึงตัดสินใจสร้างพระธาตุเรืองรองขึ้นที่วัดสร้างเรืองซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของท่านให้ผู้คนในเขตอีสานใต้ได้สักการบูชา
พระธาตุเรืองรองเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2525 ปัจจุบันถือว่ายังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ยังมีสิ่งที่ต้องเพิ่มเติมอีกหลาย ๆ ประการ ตัวพระธาตุมีฐานกว้าง 30 x 30 เมตร สูง 43.60 เมตร มี 6 ชั้น ชั้นบนสุดเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (กระดูกของพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์สาวก)ให้ชาวบ้านได้สักการบูชาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน ส่วนอาคาร 5 ชั้นที่เหลือ จัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์สี่เผ่าไทยที่เน้นการจัดแสดงวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์สำคัญในเขตอีสานใต้ อันได้แก่ ชาติพันธุ์เขมร ถิ่นไทย กูยหรือส่วย ไทยลาว และ ชาติพันธุ์เญอ โดยจัดแสดงทั้งในรูปแบบของแบบจำลองปูนปั้นขนาดเท่าจริง (1:1) การจัดแสดงโบราณวัตถุและเครื่องมือเครื่องใช้ในวิถีชีวิตประเภทต่าง ๆ ที่ชาวบ้านเคยใช้นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การจัดแสดงแบบจำลองปูนปั้นปริศนาธรรม รวมทั้งมีสถานที่สำหรับสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนา รวมทั้งภาพเขียนภาพตามฝาผนังที่บอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ เช่น สถานที่สำคัญทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีในเขตอีสานใต้ วรรณกรรมท้องถิ่นประเภทนิทานและชาดก เป็นต้น
บริเวณโดยรอบพระธาตุเรืองรองก็มีการตกแต่งพื้นที่โดยการสร้างแบบจำลองปูนปั้นปริศนาธรรม และแบบจำลองปูนปั้นประเพณี พิธีกรรมที่สำคัญของชาวอีสาน รวมทั้งมีการจัดสถานที่สำหรับการร่วมทำบุญโดยการบริจาค บูชาวัตถุมงคล และจำหน่ายของที่ระลึก รายได้ทั้งหมดจะนำมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาพระธาตุเรืองรองต่อไป
พระธาตุเรืองรอง (พิพิธภัณฑ์สี่เผ่าไทย) ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดสร้างเรือง ตำบลหญ้าปล้องอำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
ในปี พ.ศ.2511 หลวงปู่ธัมมา พิทักษา ผู้ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่บ้านสร้างเรือง และขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดอมรทายิการาม (วัดใหม่ยายมอญ) เขตบางกอกน้อย กรุงเทพ ฯ ได้กลับมายังเป็นผู้นำในการบุกเบิกป่าช้าเก่าของบ้านสร้างเรืองซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 1 ไร่เศษสร้างเป็นวัดประจำหมู่บ้าน ในขณะเดียวกันก็มีการขยายพื้นที่ทั้งการขอรับบริจาคและซื้อที่ดินใกล้เคียงเพิ่มเติมจนมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 6 ไร่เศษ และได้มีการพัฒนาวัดบ้านสร้างเรืองอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ (ได้รับพระราชทานวิสุงคามวาสี) เมื่อปี พ.ศ.2520 ภายหลังจากการก่อสร้างวัดแล้วเสร็จหลวงปู่ธัมมา พิทักษาก็ได้มีแนวคิดว่าจะสร้างพระธาตุให้เป็นสถานที่ให้ชาวบ้านได้สักการบูชา โดยเห็นว่าชาวพุทธในเขตอีสานใต้ส่วนใหญ่ มีฐานะค่อนข้างยากจน ปูชนียสถานทางพุทธศาสนาแต่ละแห่งก็อยู่ห่างไกล เช่น พระธาตุพนม (ประมาณ 400 กิโลเมตร) ประปฐมเจดีย์ (ประมาณ 600 กิโลเมตร) พระพุทธบาทสระบุรี (ประมาณ 500 กิโลเมตร) พระธาตุดอยสุเทพ (ประมาณ 1,000 กิโลเมตร)โอกาสที่จะไปสักการบูชาปูชนียสถานก็เป็นไปได้ยาก บางคนเกิดมาชั่วอายุก็ไม่มีโอกาสสักครั้งในชีวิต ดังนั้น หลวงปู่ธัมมา พิทักษา จึงตัดสินใจสร้างพระธาตุเรืองรองขึ้นที่วัดสร้างเรืองซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของท่านให้ผู้คนในเขตอีสานใต้ได้สักการบูชา
พระธาตุเรืองรองเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2525 ปัจจุบันถือว่ายังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ยังมีสิ่งที่ต้องเพิ่มเติมอีกหลาย ๆ ประการ ตัวพระธาตุมีฐานกว้าง 30 x 30 เมตร สูง 43.60 เมตร มี 6 ชั้น ชั้นบนสุดเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (กระดูกของพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์สาวก)ให้ชาวบ้านได้สักการบูชาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน ส่วนอาคาร 5 ชั้นที่เหลือ จัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์สี่เผ่าไทยที่เน้นการจัดแสดงวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์สำคัญในเขตอีสานใต้ อันได้แก่ ชาติพันธุ์เขมร ถิ่นไทย กูยหรือส่วย ไทยลาว และ ชาติพันธุ์เญอ โดยจัดแสดงทั้งในรูปแบบของแบบจำลองปูนปั้นขนาดเท่าจริง (1:1) การจัดแสดงโบราณวัตถุและเครื่องมือเครื่องใช้ในวิถีชีวิตประเภทต่าง ๆ ที่ชาวบ้านเคยใช้นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การจัดแสดงแบบจำลองปูนปั้นปริศนาธรรม รวมทั้งมีสถานที่สำหรับสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนา รวมทั้งภาพเขียนภาพตามฝาผนังที่บอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ เช่น สถานที่สำคัญทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีในเขตอีสานใต้ วรรณกรรมท้องถิ่นประเภทนิทานและชาดก เป็นต้น
บริเวณโดยรอบพระธาตุเรืองรองก็มีการตกแต่งพื้นที่โดยการสร้างแบบจำลองปูนปั้นปริศนาธรรม และแบบจำลองปูนปั้นประเพณี พิธีกรรมที่สำคัญของชาวอีสาน รวมทั้งมีการจัดสถานที่สำหรับการร่วมทำบุญโดยการบริจาค บูชาวัตถุมงคล และจำหน่ายของที่ระลึก รายได้ทั้งหมดจะนำมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาพระธาตุเรืองรองต่อไป
อาคารสถานที่ :
เดิมวัดสร้างเรืองเป็นป่าช้าที่มีพื้นที่เพียง 1 ไร่เศษเท่านั้นต่อมาหลวงปู่ได้ขอบิณฑบาตและขอซื้อที่ดินเพื่อขยายพื้นที่ออกไปเรื่อยๆจนในที่สุด มีเนื้อที่ถึง 6 ไร่เศษขนาดของ พระธาตุเรืองรอง กว้าง 30 เมตร ยาว 30 เมตร ขนาดของความสูง 43 เมตร 60 เซนติเมตร มีทั้งหมด 6 ชั้น
เดิมวัดสร้างเรืองเป็นป่าช้าที่มีพื้นที่เพียง 1 ไร่เศษเท่านั้นต่อมาหลวงปู่ได้ขอบิณฑบาตและขอซื้อที่ดินเพื่อขยายพื้นที่ออกไปเรื่อยๆจนในที่สุด มีเนื้อที่ถึง 6 ไร่เศษขนาดของ พระธาตุเรืองรอง กว้าง 30 เมตร ยาว 30 เมตร ขนาดของความสูง 43 เมตร 60 เซนติเมตร มีทั้งหมด 6 ชั้น
การจัดแสดงภายใน :
ประเภทของวัตถุสะสมและการจัดแสดงภายใน
1. โบราณวัตถุและเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันตั้งแต่อดีต
2. แบบจำลองปูนปั้น วิถีชีวิตของ 4 กลุ่มชาติพันธุ์ ประเพณีพิธีกรรมของชาวอีสาน วิถีชีวิตของชาวอีสาน ปริศนาธรรม สัตว์ชนิดต่าง ๆ และคนในสถานภาพต่าง ๆ เป็นต้น
3. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพุทธศาสนา เช่น พระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปปางต่าง ๆ วัตถุมงคล เป็นต้น
ลักษณะพิเศษที่เป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าต่อชุมชน :
1. ความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตของ 4 กลุ่มชาติพันธุ์หลักในเขตอีสานใต้ คือ เขมรถิ่นไทย กูยหรือส่วย ไทยลาว และเญอ ทั้งนี้เนื่องจากสังคมในเขตอีสานใต้ในปัจจุบันกำลังถูกวัฒนธรรมกระแสหลักครอบงำอย่างรวดเร็ว เอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่สำคัญทั้งด้านภาษา การแต่งกาย ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรมหลาย ๆ ประการเริ่มจางหายไปจากวิถีชีวิตของผู้คนชาติพันธุ์ต่าง ๆ ดังนั้น การจัดแสดงเพื่อกระตุ้นให้สังคมได้รับรู้และเห็นคุณค่าของความเป็นชาติพันธุ์ในพระธาตุเรืองรอง (พิพิธภัณฑ์สี่เผ่าไทย)จึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการก่อให้เกิดความตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์โดยส่วนรวม
2. พระธาตุเรืองรอง (พิพิธภัณฑ์สี่เผ่าไทย) เป็นศาสนสถานที่เป็นเสมือนสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของพุทธศาสนิกชน พร้อม ๆ กับทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน การผสมผสานระหว่าง คติความเชื่อทางศาสนากับการจัดการเรียนรู้ดังที่ดำเนินการในพระธาตุเรืองรอง(พิพิธภัณฑ์สี่เผ่าไทย) จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดกับสังคมโดยรวม
3. องค์ความรู้หลายประการในพระธาตุเรืองรอง (พิพิธภัณฑ์สี่เผ่าไทย) เป็นองค์ความรู้ ที่สามารถนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับนักเรียนได้โดยง่าย ทั้งในรูปแบบของการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น การใช้พระธาตุเรืองรอง (พิพิธภัณฑ์สี่เผ่าไทย)เป็นแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน เป็นต้น
ประเภทของวัตถุสะสมและการจัดแสดงภายใน
1. โบราณวัตถุและเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันตั้งแต่อดีต
2. แบบจำลองปูนปั้น วิถีชีวิตของ 4 กลุ่มชาติพันธุ์ ประเพณีพิธีกรรมของชาวอีสาน วิถีชีวิตของชาวอีสาน ปริศนาธรรม สัตว์ชนิดต่าง ๆ และคนในสถานภาพต่าง ๆ เป็นต้น
3. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพุทธศาสนา เช่น พระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปปางต่าง ๆ วัตถุมงคล เป็นต้น
ลักษณะพิเศษที่เป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าต่อชุมชน :
1. ความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตของ 4 กลุ่มชาติพันธุ์หลักในเขตอีสานใต้ คือ เขมรถิ่นไทย กูยหรือส่วย ไทยลาว และเญอ ทั้งนี้เนื่องจากสังคมในเขตอีสานใต้ในปัจจุบันกำลังถูกวัฒนธรรมกระแสหลักครอบงำอย่างรวดเร็ว เอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่สำคัญทั้งด้านภาษา การแต่งกาย ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรมหลาย ๆ ประการเริ่มจางหายไปจากวิถีชีวิตของผู้คนชาติพันธุ์ต่าง ๆ ดังนั้น การจัดแสดงเพื่อกระตุ้นให้สังคมได้รับรู้และเห็นคุณค่าของความเป็นชาติพันธุ์ในพระธาตุเรืองรอง (พิพิธภัณฑ์สี่เผ่าไทย)จึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการก่อให้เกิดความตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์โดยส่วนรวม
2. พระธาตุเรืองรอง (พิพิธภัณฑ์สี่เผ่าไทย) เป็นศาสนสถานที่เป็นเสมือนสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของพุทธศาสนิกชน พร้อม ๆ กับทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน การผสมผสานระหว่าง คติความเชื่อทางศาสนากับการจัดการเรียนรู้ดังที่ดำเนินการในพระธาตุเรืองรอง(พิพิธภัณฑ์สี่เผ่าไทย) จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดกับสังคมโดยรวม
3. องค์ความรู้หลายประการในพระธาตุเรืองรอง (พิพิธภัณฑ์สี่เผ่าไทย) เป็นองค์ความรู้ ที่สามารถนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับนักเรียนได้โดยง่าย ทั้งในรูปแบบของการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น การใช้พระธาตุเรืองรอง (พิพิธภัณฑ์สี่เผ่าไทย)เป็นแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน เป็นต้น
ที่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น